ภาษาไทยแก้ไข

การออกเสียงแก้ไข

การแบ่งพยางค์สะ-เหฺมอ
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงsà-mə̌ə
ราชบัณฑิตยสภาsa-moe
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/sa˨˩.mɤː˩˩˦/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1แก้ไข

ยืมมาจากภาษาเขมรกลาง ស្មេ (สฺเม), ស្មើ (สฺเมิ), ស្មើហ (สฺเมิห, เหมือน; เท่า), จากภาษาเขมรเก่า ស្មេ (สฺเม), จากภาษามอญ-เขมรดั้งเดิม *sməʔ, *sməh, แรกสุดจากภาษาสันสกฤต सम (สม) หรือภาษาบาลี สม; ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ສະເໝີ (สะเหมี), ภาษาไทลื้อ ᦉᦵᦖᦲ (สเหฺมี), ภาษาเขมร ស្មើ (สฺเมิ); ร่วมรากกับ สม (รากศัพท์ 1)

คำคุณศัพท์แก้ไข

เสมอ (คำอาการนาม ความเสมอ)

  1. เท่ากัน, พอกัน, เหมือนกัน
    กรรมการตัดสินให้เสมอกัน ไม่มีใครแพ้ใครชนะ
  2. เพียง, แค่
    ราคาของ 40,000 บาท เห็นจะซื้อไม่ไหว เสมอสัก 30,000 บาท ก็พอจะสู้ได้

รากศัพท์ 2แก้ไข

คำกริยาแก้ไข

เสมอ (คำอาการนาม การเสมอ)

  1. เข้าข้าง, คาดว่าจะชนะ
    มวยคู่นี้คุณจะเสมอฝ่ายไหน

รากศัพท์ 3แก้ไข

คำนามแก้ไข

เสมอ

  1. ชื่อเพลงหน้าพาทย์เกี่ยวกับอาการเยื้องกราย และการเดินของตัวละครในนาฏกรรมไทย เรียกว่า เพลงเสมอ
    เสมอบาทสกุณี (เสมอตีนนก)
    เสมอนาง
    เสมอมาร

รากศัพท์ 4แก้ไข

คำกริยาวิเศษณ์แก้ไข

เสมอ

  1. ตลอดไป, บ่อยและเป็นประจำ
    ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกเสมอ

ดูเพิ่มแก้ไข