ดูเพิ่ม: สม., สมี, สุม, สุ่ม, และ ส้ม

ภาษาไทย แก้ไข

รากศัพท์ 1 แก้ไข

ยืมมาจากภาษาสันสกฤต सम (สม) หรือภาษาบาลี สม; ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ສົມ (ส็ม), ສະມະ (สะมะ), ສົມມະ (ส็มมะ), ภาษาไทดำ ꪶꪎꪣ (โสม); ร่วมรากกับ เสมอ

การออกเสียง แก้ไข

การแบ่งพยางค์สม[เสียงสมาส]
สะ-มะ-
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงsǒmsà-má-
ราชบัณฑิตยสภาsomsa-ma-
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/som˩˩˦/(สัมผัส)/sa˨˩.ma˦˥./

คำคุณศัพท์ แก้ไข

สม

  1. เหมาะ, เหมาะกับ, ควรแก่, รับกัน
    บ่าวสาวคู่นี้สมกัน
    เขาแต่งตัวสมฐานะ
    แสดงละครได้สมบทบาท
    เขาต่อสู้กันอย่างสมศักดิ์ศรี
    เด็กคนนี้แต่งตัวไม่สมวัย
    หัวแหวนสมกับเรือนแหวน
  2. ตรงกับ
    สมคะเน
    สมปรารถนา
    สมความตั้งใจ
  3. (ภาษาปาก) สมน้ำหน้า
    สมแล้วที่สอบตก เพราะขี้เกียจนัก

รากศัพท์ 2 แก้ไข

เป็นไปได้ว่าเกี่ยวข้องกับ สุม

การออกเสียง แก้ไข

การแบ่งพยางค์สม
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงsǒm
ราชบัณฑิตยสภาsom
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/som˩˩˦/(สัมผัส)

คำกริยาวิเศษณ์ แก้ไข

สม

  1. ร่วมด้วยกัน, รวมกัน
    สมคิด
    สมรู้