เต่า
ภาษาไทย
แก้ไขการออกเสียง
แก้ไขการแบ่งพยางค์ | เต่า | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | dtào |
ราชบัณฑิตยสภา | tao | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /taw˨˩/(สัมผัส) |
รากศัพท์ 1
แก้ไขสืบทอดจากภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม *tawᴮ¹, จากภาษาไทดั้งเดิม *tawᴮ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨲᩮᩢ᩵ᩣ (เตั่า), ภาษาลาว ເຕົ່າ (เต็่า), ภาษาไทลื้อ ᦎᧁᧈ (เต่า), ภาษาไทใหญ่ တဝ်ႇ (ต่ว), ภาษาไทใต้คง ᥖᥝᥱ (เต่า), ภาษาอาหม 𑜄𑜧 (ตว์); เทียบภาษาเบดั้งเดิม *ɗuːᴮꟲ¹
คำนาม
แก้ไขเต่า (คำลักษณนาม ตัว)
- ชื่อสัตว์เลื้อยคลานหลายวงศ์ ในอันดับ Testudines คอยาว ลำตัวสั้น มีกระดองหุ้ม กระดองมีทั้งที่เป็นแผ่นเกล็ดแข็งและที่เป็นแผ่นหนัง ขาและหางสั้นส่วนใหญ่หดเข้าไปในกระดองได้ มีถิ่นอาศัยต่าง ๆ กัน ที่อยู่บนบก เช่น เต่าเหลือง ที่อยู่ในน้ำจืด เช่น เต่านา ที่อยู่ในทะเล เช่น เต่าตนุ พวกที่มีหนังหุ้มกระดองเรียก ตะพาบ เช่น ตะพาบสวน
- (กล้วย~) ชื่อไม้ยืนต้นชนิด Polyalthia debilis Finet & Gagnep
- (ขนม~) ขนมทำด้วยแป้งข้าวเจ้า ปั้นกลม ๆ ใส่ไส้ทำด้วยถั่วลิสงผัดน้ำตาลหรือไส้อย่างขนมเทียน กดพิมพ์รูปเหมือนเต่า นึ่งให้สุก ทาน้ำมัน วางบนใบตองเจียนเป็นรูปกลม ๆ
- (ภาษาปาก, สแลง) รักแร้
คำวิสามานยนาม
แก้ไขเต่า
คำคุณศัพท์
แก้ไขเต่า
คำพ้องความ
แก้ไข- (สัตว์เลื้อยคลาน): ดูที่ อรรถาภิธาน:เต่า
- (ไม้ยืนต้น): ไข่เต่า
- (กลุ่มดาว): นายพราน
รากศัพท์ 2
แก้ไขเป็นไปได้ว่ามาจากภาษาหมิ่นใต้ 兜/兜 (tau, “กระเป๋า; ถุง”)
คำนาม
แก้ไขเต่า (คำลักษณนาม ผืน หรือ ตัว)
คำพ้องความ
แก้ไข- (แผ่นผ้า): เอี๊ยม
รากศัพท์ 3
แก้ไขรูปแบบอื่น
แก้ไขคำนาม
แก้ไขเต่า
- (โบราณ) คำกำกับชื่อปีในวิธีนับศักราชโบราณของสุโขทัยและไทยล้านนา ตรงกับลำดับที่ 9 ของรอบ 12 ปี
- (โบราณ) คำกำกับชื่อวันแบบโบราณของสุโขทัยและไทยล้านนา ตรงกับลำดับที่ 9 ของรอบ 12 วัน
รากศัพท์ 4
แก้ไขคำนาม
แก้ไขเต่า