ดูเพิ่ม: ว่าง

ภาษาไทย

แก้ไข

รากศัพท์

แก้ไข

สืบทอดจากไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม *waːŋᴬ⁴; ร่วมเชื้อสายกับคำเมือง ᩅᩤ᩠ᨦ (วาง), ลาว ວາງ (วาง), ไทลื้อ ᦞᦱᧂ‎ (วาง‎), ไทดำ ꪫꪱꪉ (วาง), ไทใหญ่ ဝၢင်း (ว๊าง), ไทใต้คง ᥝᥣᥒᥰ (ว๊าง), อาหม 𑜈𑜂𑜫 (บง์)

การออกเสียง

แก้ไข

คำกริยา

แก้ไข

วาง (คำอาการนาม การวาง)

  1. ทำให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งพ้นจากมือหรือบ่าเป็นต้นด้วยอาการกิริยาต่าง ๆ ตามที่ต้องการ
    วางข้าวของเรียงเป็นแถว
    วางกับดักหนู
    วางกระดานลงกับพื้น
    วางเสาพิงกับผนัง
  2. กำหนด, ตั้ง
    วางกฎ
    วางเงื่อนไข
    วางรากฐาน
  3. จัดเข้าประจำที่
    วางคน
    วางยาม
    วางกำลัง
  4. ปล่อยวาง
    วางอารมณ์
    วางธุระ
  5. (โบราณ, ใช้สำหรับพิษของสัตว์) ปล่อยด้วยการขบ กัด หรือต่อยเป็นต้น[1]
  6. (ใช้สำหรับยาหรือยาพิษ) ปล่อยเข้าสู่, ใช้
    วางยา
  7. (โบราณ, ใช้สำหรับอาวุธ) ยิง[1]
  8. (ร้อยกรอง) อาการที่เคลื่อนไปโดยรีบร้อน, ปล่อยออกไป, พุ่งออกไป[1]
    ขี่ช้างวางวิ่ง

อ้างอิง

แก้ไข
  1. 1 2 3 ราชบัณฑิตยสภา (2563) พจนานุกรมโบราณศัพท์ ฉบับราชบัณฑิตยสภา, กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, →ISBN, page 296: “วาง ๑ ก. อาการที่สัตว์มีพิษขบหรือกัดแล้วปล่อยพิษออกมา... วาง ๒ ก. ๑) ยิง...๒) พุ่งออกไป, ปล่อยออกไป... วาง ๓ ดู ว๋าง. ว๋าง <วาง> ว. บิ่น, แหว่ง”