ดูเพิ่ม: ย่าง

ภาษาไทย แก้ไข

 
วิกิพีเดียมีบทความเกี่ยวกับ:
Wikipedia

การออกเสียง แก้ไข

การแบ่งพยางค์ยาง
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงyaang
ราชบัณฑิตยสภาyang
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/jaːŋ˧/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1 แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *ˀjaːŋᴬ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาไทใหญ่ ယၢင် (ยาง), ภาษาลาว ຢາງ (อยาง) หรือ ຍາງ (ยาง), ภาษาไทใหญ่ ယၢင် (ยาง)ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง yangภาษาจ้วง yang

คำนาม แก้ไข

ยาง

  1. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่หลายชนิดในสกุล Dipterocarpus วงศ์ Dipterocarpaceae เช่น ยางนา (D. alatus Roxb. et G. Don) ยางแดง (D. turbinatus C. F. Gaertn.), ยางที่เจาะเผาจากลำต้นใช้ประสมชันยาเรือ เรียกว่า น้ำมันยาง
  2. ของเหลวและเหนียวไหลออกจากแผลต้นไม้หรือผลไม้บางอย่าง
    ยางสน
    ยางกล้วย
    ยางมะละกอ
  3. เรียกสิ่งบางอย่างที่ทำจากยางพาราเป็นต้น
    ยางรถ
    ยางลบ
  4. โดยปริยายเรียกของเหลวที่มีลักษณะเช่นนั้น
    แกงบูดเป็นยาง

รากศัพท์ 2 แก้ไข

เทียบภาษาพม่า ဗျိုင်း (พฺไยง์:)

คำนาม แก้ไข

ยาง (คำลักษณนาม ตัว)

  1. ชื่อนกขนาดกลางหลายชนิด ในวงศ์ Ardeidae ปากยาวแหลมตรง ส่วนใหญ่ตัวสีขาว บางชนิดสีดำ น้ำตาล หรือเขียว ขายาว นิ้วกลางที่หันไปทางด้านหน้ามีเล็บหยักคล้ายซี่หวี ทำรังแบบง่ายด้วยกิ่งไม้บนต้นไม้ พุ่มไม้ หรือตามซอกหิน หากินตามชายน้ำ โดยส่วนใหญ่เป็นแหล่งน้ำจืด บางชนิดหากินตามชายทะเล กินปลา แมลง และสัตว์น้ำขนาดเล็ก เช่น ยางควาย [Bubulcus ibis (Linn.)] ยางเขียว [Butorides striatus (Linn.)] ยางไฟหัวดำ [Ixobrychus sinensis (Gmelin)] ยางเปีย [Egretta garzetta (Linn.)]
คำพ้องความ แก้ไข

รากศัพท์ 3 แก้ไข

ร่วมเชื้อสายกับภาษาอีสาน ยาง, ภาษาเขิน ᨿᩣ᩠ᨦ (ยาง), ภาษาลาว ຍາງ (ยาง), ภาษาไทใหญ่ ယၢင်း (ย๊าง)

คำวิสามานยนาม แก้ไข

ยาง

  1. ชนชาติกะเหรี่ยง

ภาษาชอง แก้ไข

รากศัพท์ แก้ไข

สืบทอดจากภาษาProto-Pearic *ɡjaːŋ

การออกเสียง แก้ไข

คำนาม แก้ไข

ยาง

  1. เต่า

คำพ้องความ แก้ไข