ดูเพิ่ม: เหนี่ยว

ภาษาไทย

แก้ไข

รากศัพท์

แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *ʰniəwᴬ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ໜຽວ (หนย̂ว), ภาษาไทลื้อ ᦵᦐᧁ (เหฺนว), ภาษาไทดำ ꪘꪸꪫ (หฺนย̂ว), ภาษาไทใหญ่ ၼဵဝ် (เนว), ภาษาไทใต้คง ᥘᥥᥝᥴ (เล๋ว) หรือ ᥢᥥᥝᥴ (เน๋ว), ภาษาจ้วง niu, ภาษาจ้วงแบบหนง no, ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง nuo/nu

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์เหฺนียว
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงnǐao
ราชบัณฑิตยสภาniao
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/nia̯w˩˩˦/(สัมผัส)

คำคุณศัพท์

แก้ไข

เหนียว (คำอาการนาม ความเหนียว)

  1. ดึงขาดยาก, ทนทานไม่หักไม่ขาดง่าย, แกะออกยาก, ไม่ยุ่ย, ไม่เปื่อย
    กิ่งมะขามเหนียวมาก
    ด้ายหลอดเหนียวมาก
    มือเหนียว
    ตีนเหนียว
  2. มีลักษณะคล้ายยางใช้ติดสิ่งอื่นได้
    เอาแป้งมันผสมน้ำตั้งไฟแล้วกวนจนเหนียว
  3. อาการที่ทำให้รู้สึกเหนอะหนะ
    เหงื่อออกจนเนื้อตัวเหนียวไปหมด
  4. (ภาษาปาก) คงกระพัน, ทนทานต่อศัสตราวุธ, ฟัน แทง หรือยิงไม่เข้า
    เขาเป็นคนหนังเหนียว
  5. (ภาษาปาก) ตระหนี่, มักใช้ว่า ขี้เหนียว
    เขาเป็นคนเหนียวมาก

คำนาม

แก้ไข

เหนียว

  1. ชื่อดินที่มีลักษณะเหนียว ใช้ปั้นได้ เรียกว่า ดินเหนียว
  2. ชื่อข้าวที่มีลักษณะเหนียวมาก ใช้นึ่งเป็นอาหาร เรียกว่า ข้าวเหนียว
  3. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเหนียวคลุกมะพร้าวขูด โรยน้ำตาลเคี่ยวและข้าวตากคั่ว เรียกว่า ขนมเหนียว