ภาษาไทยแก้ไข

การออกเสียงแก้ไข

การแบ่งพยางค์ทับ
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงtáp
ราชบัณฑิตยสภาthap
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/tʰap̚˦˥/(สัมผัส)
คำพ้องเสียง

รากศัพท์ 1แก้ไข

ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨴᩢ᩠ᨷ (ทับ), ภาษาเขิน ᨴᩢ᩠ᨷ (ทับ), ภาษาลาว ທັບ (ทับ), ภาษาไทลื้อ ᦑᧇ (ทับ), ภาษาไทใหญ่ တပ်ႉ (ตั๎ป)

คำนามแก้ไข

ทับ

  1. กระท่อมหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทำอยู่ชั่วคราว

รากศัพท์ 2แก้ไข

ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨴᩢ᩠ᨷ (ทับ), ภาษาเขิน ᨴᩢ᩠ᨷ (ทับ), ภาษาลาว ທັບ (ทับ), ภาษาไทลื้อ ᦑᧇ (ทับ), ภาษาไทใหญ่ တပ်ႉ (ตั๎ป), ภาษาจ้วง daeb

คำกริยาแก้ไข

ทับ (คำอาการนาม การทับ)

  1. วางข้างบน, ซ้อนข้างบน
  2. อาการที่ของหนักโค่นหรือล้มลงพาดบนสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยแรง
    ต้นไม้ล้มทับบ้าน
  3. อาการที่สิ่งที่มีล้อเคลื่อนไปด้วยกำลังเร็วแล้วปะทะกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วกดหรือบดลงไปโดยแรง
    รถทับคน
  4. ร่วมเพศเพื่อสืบพันธุ์ (ใช้แก่สัตว์บางชนิด เช่น ม้า วัว ควาย)

คำนามแก้ไข

ทับ

  1. เครื่องหมายรูปดังนี้ /

คำแปลภาษาอื่นแก้ไข

รากศัพท์ 3แก้ไข

คำนามแก้ไข

ทับ

  1. ชื่อด้วงปีกแข็งหลายชนิดในวงศ์ Buprestidae ลำตัวยาวโค้งนูน แข็งมาก หัวเล็กซ่อนอยู่ใต้อกปล้องแรกซึ่งโค้งมนเรียวไปทางหัวเชื่อมกับอกปล้องกลางซึ่งกว้างกว่าส่วนอื่นท้องมนเรียวไปทางปลายหาง ปีกแข็งหุ้มส่วนท้องจนหมด มีหลายสี ที่พบบ่อยมีสีเขียวเป็นมันเลื่อม เช่น ชนิด Sternocera aequisignata, S. ruficornis

รากศัพท์ 4แก้ไข

คำนามแก้ไข

ทับ

  1. (โบราณ) โทน, ชาวพื้นเมืองปักษ์ใต้ยังคงเรียกโทนชาตรีว่า ทับ เช่นที่ใช้ประโคมในการแสดงหนังตะลุง มโนราห์ และโต๊ะครึม

รากศัพท์ 5แก้ไข

คำนามแก้ไข

ทับ

  1. รูปที่เลิกใช้ของ ทัพ

ภาษาปักษ์ใต้แก้ไข

คำนามแก้ไข

ทับ

  1. โทนชาตรี