ดูเพิ่ม: เบีย และ เบ้ย

ภาษาไทย

แก้ไข
 
วิกิพีเดียภาษาไทยมีบทความเกี่ยวกับ:
Wikipedia

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์เบี้ย
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงbîia
ราชบัณฑิตยสภาbia
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/bia̯˥˩/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1

แก้ไข

เทียบภาษาจีนยุคกลาง (MC pajH, “หอยเบี้ย”) หรือ (MC bjiejH, “เงินตรา”); ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨷ᩠ᨿᩮ᩶ (บเย้), ภาษาลาว ເບ້ຍ (เบ้ย), ภาษาไทลื้อ ᦵᦢᧉ (เบ้), ภาษาไทใหญ่ မေႈ (เม้) หรือ ဝေႈ (เว้), ภาษาพ่าเก မေ (เม), ภาษาอาหม 𑜈𑜣 (บี)

คำนาม

แก้ไข

เบี้ย

  1. (หอย~) ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวหลายชนิดในวงศ์ Cypraeidae เปลือกแข็ง ผิวเป็นมัน หลังโค้งนูน ด้านท้องแบน ช่องเปลือกยาวและแคบ เป็นลำราง ตามขอบทั้ง 2 ข้างเป็นรอยหยัก
  2. เปลือกหอยเบี้ยที่ใช้เป็นเงินตราในสมัยก่อนมี 2 ชนิด ได้แก่ ชนิด Cypraea moneta Linn. เรียก เบี้ยจั่นหรือเบี้ยจักจั่น ชนิด C. annulus Linn. เรียก เบี้ยแก้วหรือเบี้ยนาง มีอัตรา 100 เบี้ย เป็น 1 อัฐ คำว่า เบี้ย จึงเป็นคำเรียกแทนเงินติดมาจนทุกวันนี้
    เบี้ยประชุม
    เบี้ยประกัน
    เบี้ยเลี้ยงชีพ
  3. (หมากรุกไทย) ตัวหมากรุกที่เวลาตั้งกระดานใหม่จะวางเต็มแถวที่สาม เดินตรงทีละช่อง กินทางเฉียง เมื่อเดินเบี้ยไปถึงแนววางเบี้ยของฝ่ายตรงข้ามจะกลายเป็นเบี้ยหงาย เดินและกินอย่างเม็ด
  4. (หมากรุกสากล) คำพ้องความของ พอน

รากศัพท์ 2

แก้ไข

คำนาม

แก้ไข

เบี้ย

  1. (ผัก~) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Portulaca oleracea L. ในวงศ์ Portulacaceae ใช้เป็นผักได้