ดูเพิ่ม: ร่าง, ร้าง, และ ร๊าง

ภาษาไทย

แก้ไข

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์ราง
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงraang
ราชบัณฑิตยสภาrang
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/raːŋ˧/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1

แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *rwɯəŋᴬ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ຮາງ (ฮาง), ภาษาไทใหญ่ ႁၢင်း (ห๊าง), ภาษาอาหม 𑜍𑜂𑜫 (รง์), ภาษาจ้วง rangz

คำนาม

แก้ไข

ราง (คำลักษณนาม ราง)

  1. ร่องที่ขุดเป็นทางสำหรับให้น้ำไหล
  2. สิ่งสำหรับรองน้ำฝนที่ชายคาเป็นต้น มักทำด้วยสังกะสียาวเป็นแนวไปตามชายคา
  3. ไม้ที่ขุดหรือต่อให้เป็นร่องยาว ๆ หรือปล้องไม้ไผ่ผ่าซีก มีด้านสกัดหัวท้ายสำหรับใส่อาหารหมูหรือย้อมผ้าเป็นต้น
  4. โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น
    รางระนาด
  5. เหล็กที่ใช้เป็นทางเดินของล้อเลื่อน
    รางรถไฟ
  6. ไม้เจาะเป็นร่องยาวสำหรับใส่เหรียญบาทเรียงกันได้ 80 เหรียญ หรือ 1 ชั่ง, ปัจจุบันเป็นแผ่นไม้เจาะเป็นร่องสำหรับใส่เหรียญบาทเรียงกันเป็นแถว ๆ แผ่นหนึ่งมี 10 แถว แถวหนึ่งใส่เหรียญบาทได้ 10 เหรียญ รวมเป็น 100 บาท

คำลักษณนาม

แก้ไข

ราง

  1. เรียกสิ่งที่มีลักษณะเป็นราง
    ลูกคิดรางหนึ่ง
    ระนาด 2 ราง
    รางรถไฟ 3 ราง

รากศัพท์ 2

แก้ไข

คำกริยา

แก้ไข

ราง (คำอาการนาม การราง)

  1. คั่วข้าวเม่าให้กรอบ, เรียกข้าวเม่าที่เอามาคั่วให้กรอบ ว่า ข้าวเม่าราง

รากศัพท์ 3

แก้ไข

คำคุณศัพท์

แก้ไข

ราง

  1. ไม่กระจ่าง, ไม่ชัดเจน

คำกริยาวิเศษณ์

แก้ไข

ราง

  1. ไม่กระจ่าง, ไม่ชัดเจน

ดูเพิ่ม

แก้ไข

ภาษาคำเมือง

แก้ไข

การออกเสียง

แก้ไข

คำนาม

แก้ไข

ราง

  1. รัง