ชา
(เปลี่ยนทางจาก น้ำชา)
ภาษาไทย
แก้ไขการออกเสียง
แก้ไขการแบ่งพยางค์ | ชา | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | chaa |
ราชบัณฑิตยสภา | cha | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /t͡ɕʰaː˧/(สัมผัส) | |
ไฟล์เสียง |
รากศัพท์ 1
แก้ไขสืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *ɟaːᴬ, จากภาษาจีนยุคกลาง 茶 (MC drae); ร่วมเชื้อสายกับภาษาจ้วง caz, ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง chaz
คำนาม
แก้ไขชา
- ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Camellia sinensis (L.) Kuntze ในวงศ์ Theaceae ขึ้นตามหุบเขาในเขตร้อน ใบใช้ชงเป็นเครื่องดื่ม, พายัพเรียก เมี่ยง
- ใบไม้หรือดอกไม้แห้งที่ใช้ชงน้ำเป็นเครื่องดื่ม
- ชาดอกคำฝอย
- ชาใบหม่อน
- ชาตะไคร้
- (น้ำ~) เครื่องดื่มที่ชงจากใบชา ใบไม้ ดอกไม้ ดังกล่าว
- ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในหลายวงศ์ ใบเล็ก ที่ใช้เป็นปลูกรั้ว เช่น ชาข่อย (Acalypha siamensis Oliv. ex Gage) ในวงศ์ Euphorbiaceae, ที่นิยมปลูกเป็นไม้ดัด คือ ชาฮกเกี้ยน [Carmona retusa (Vahl) Masam.] ในวงศ์ Boraginaceae และชาใบมัน (Malpighia coccigera L.) ในวงศ์ Malpighiaceae, ชาปัตตาเวีย ก็เรียก
- (ภาษาปาก, สแลง, ขำขัน) เหล้า
ลูกคำ
แก้ไขคำเกี่ยวข้อง
คำแปลภาษาอื่น
แก้ไขเครื่องดื่มน้ำชา
|
รากศัพท์ 2
แก้ไขคำคุณศัพท์
แก้ไขชา (คำอาการนาม ความชา)
- อาการที่รู้สึกน้อยกว่าปรกติ เนื่องจากเส้นประสาทรับความรู้สึกถูกกด ถูกตัดขาด หรือถูกสารพิษ
- มือชา
- เท้าชา
- (โบราณ) เรียกปลาที่จวนจะตายอยู่แล้วว่า ปลาชา
รากศัพท์ 3
แก้ไขคำนาม
แก้ไขชา
รากศัพท์ 4
แก้ไขยืมมาจากภาษาเขมร ជា (ชา, “เป็น; สบาย, ไม่ป่วยไข้”) [เจีย]
คำกริยา
แก้ไขชา (คำอาการนาม การชา)
- (โบราณ, ร้อยกรอง) เป็น, ให้เป็น
- มนตร์ชากรุงชนะ
- (คำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างของเก่า ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. 2467)
- สบาย, ดี
- ลือชา
รากศัพท์ 5
แก้ไขคำกริยา
แก้ไขชา
ภาษาอีสาน
แก้ไขรากศัพท์
แก้ไขจากภาษาลาว ຊາ (ซา, “เอาใจใส่, ว่ากล่าว, บอกสอน, กำกับ”)
คำกริยา
แก้ไข- เอาใจใส่, ถือสา มักใช้ในความปฏิเสธ
- อย่าถือคนบ้า อย่าซาคนเมา
อ้างอิง
แก้ไข- ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 372.