ดูเพิ่ม: ชำ, ช้า, และ ช้ำ

ภาษาไทย

แก้ไข

การออกเสียง

แก้ไข

รากศัพท์ 1

แก้ไข
ชา (1)
ชาใบมันหรือชาปัตตาเวีย (4)

สืบทอดจากไทดั้งเดิม *ɟaːᴬ, จากจีนยุคกลาง (MC drae); ร่วมเชื้อสายกับจ้วง caz, จ้วงแบบจั่วเจียง chaz

คำนาม

แก้ไข

ชา

  1. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Camellia sinensis (L.) Kuntze ในวงศ์ Theaceae ขึ้นตามหุบเขาในเขตร้อน ใบใช้ชงเป็นเครื่องดื่ม, พายัพเรียก เมี่ยง
  2. ใบไม้หรือดอกไม้แห้งที่ใช้ชงน้ำเป็นเครื่องดื่ม
    ชาดอกคำฝอย
    ชาใบหม่อน
    ชาตะไคร้
  3. (น้ำ~) เครื่องดื่มที่ชงจากใบชา ใบไม้ ดอกไม้ ดังกล่าว
  4. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในหลายวงศ์ ใบเล็ก ที่ใช้เป็นปลูกรั้ว เช่น ชาข่อย (Acalypha siamensis Oliv. ex Gage) ในวงศ์ Euphorbiaceae, ที่นิยมปลูกเป็นไม้ดัด คือ ชาฮกเกี้ยน [Carmona retusa (Vahl) Masam.] ในวงศ์ Boraginaceae และชาใบมัน (Malpighia coccigera L.) ในวงศ์ Malpighiaceae, ชาปัตตาเวีย ก็เรียก
  5. (ภาษาปาก, สแลง, ขำขัน) เหล้า

ลูกคำ

แก้ไข

คำแปลภาษาอื่น

แก้ไข

รากศัพท์ 2

แก้ไข

รากศัพท์ 3

แก้ไข

รากศัพท์ 4

แก้ไข

ยืมมาจากเขมร ជា (ชา, เป็น; สบาย, ไม่ป่วยไข้) [เจีย]

คำกริยา

แก้ไข

ชา (คำอาการนาม การชา)

  1. (โบราณ, ร้อยกรอง) เป็น, ให้เป็น
    มนตร์ชากรุงชนะ
    (คำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างของเก่า ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ พ.ศ. 2467)
  2. สบาย, ดี
    ลือชา

รากศัพท์ 5

แก้ไข

คำกริยา

แก้ไข

ชา

  1. (โบราณ) หมายไว้, กำหนดไว้, ใช้ประกอบกับคำ กฎ เป็น กำหนดกฎชา
    เอามีดสับชาไว้ที่ประมาณส่วนกลางลำอ้อยในการเล่นค่องอ้อย
  2. (โบราณ) สังกัด
    แบ่งปันแผนกหมู่ชา
    (พระอัยการบานแพนก)

ภาษาอีสาน

แก้ไข

รากศัพท์

แก้ไข

จากลาว ຊາ (ซา, เอาใจใส่, ว่ากล่าว, บอกสอน, กำกับ)

คำกริยา

แก้ไข

ชา (คำอาการนาม การชา) (ซา)

  1. เอาใจใส่, ถือสา มักใช้ในความปฏิเสธ
    อย่าถือคนบ้า อย่าซาคนเมา

อ้างอิง

แก้ไข
  • ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 372.