ภาษาไทย

แก้ไข
 
วิกิพีเดียภาษาไทยมีบทความเกี่ยวกับ:
Wikipedia
 
กำยาน (วัตถุหอม)

รูปแบบอื่น

แก้ไข

รากศัพท์

แก้ไข

ยืมโดยกึ่งเรียนรู้จากภาษามาเลเซีย kemenyan (เป็นไปได้ว่ายืมผ่านมาเลเซียคลาสสิก kamiñan)[1][2]; ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ກຳຍານ (กำยาน), ภาษาเขมร កំញាន (กํญาน), ภาษาจามตะวันตก [script needed] (kamơñan), ภาษาพม่า ကက္ကုကမျဉ်း (กกฺกุกมฺยญ์:)

เดิมเชื่อว่ายืมมาจากภาษามอญ [ก็อมยาน][3] แต่ไม่มีคำนี้

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์กำ-ยาน
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงgam-yaan
ราชบัณฑิตยสภาkam-yan
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/kam˧.jaːn˧/(สัมผัส)

คำนาม

แก้ไข

กำยาน

  1. วัตถุหอมชนิดหนึ่ง เกิดจากยางใสกลิ่นหอมที่ออกจากเปลือกของต้นกำยาน (2) บางชนิด เกิดขึ้นได้เนื่องจากเปลือกถูกกรีดหรือมีราลง ก็จะขับยางใสกลิ่นหอมออกมา เมื่อแห้งจะแข็งติดอยู่กับลำต้นแกะออกมาได้
  2. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางหลายชนิดในสกุลกำยาน วงศ์ Styracaceae ขึ้นตามป่าเขาในระดับสูง ใบเดี่ยว ด้านบนสีขาว ดอกสีขาว หอมอ่อน ๆ ไม้ต้นชนิดนี้บางชนิดเมื่อเปลือกถูกกรีดหรือมีราลง ก็จะขับยางใสกลิ่นหอมออกมา เมื่อแห้งจะแข็งติดอยู่กับลำต้น แกะออกมาได้ เรียกว่า กำยาน (1)
  3. (กล้วย~) ชื่อกล้วยพันธุ์หนึ่ง มีกลิ่นหอม

คำแปลภาษาอื่น

แก้ไข

อ้างอิง

แก้ไข
  1. เปลื้อง ณ นคร. พจนานุกรม ไทย-ไทย. [1]
  2. กำยาน สรรพคุณและประโยชน์ของกำยานต้น 17 ข้อ !. (2558) [2]
  3. วัฒนา บุรกสิกร. (2541) ลักษณะคำไทยที่มาจากภาษามอญ. [3]