ภาษาไทย

แก้ไข

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์ดั้ง
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงdâng
ราชบัณฑิตยสภาdang
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/daŋ˥˩/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1

แก้ไข

คำนาม

แก้ไข

ดั้ง

  1. เครื่องถือสำหรับปิดป้องศัสตราวุธ รูปคล้ายกาบกล้วย, โบราณใช้ว่า ด้าง ก็มี
  2. เรียกเสาเรือนเครื่องสับที่ตั้งอยู่บนหลังรอดตรงกึ่งกลางความยาวของตัวรอดขึ้นไปรับอกไก่ ว่า เสาดั้ง
  3. เรียกเสาที่ตั้งบนขื่อสำหรับรับอกไก่ ว่า ดั้งแขวน
  4. เรียกเรือซึ่งกำหนดให้เข้ากระบวนเสด็จทางชลมารค จัดเป็น 2 สายขนาบเรือกลอง ไปข้างหน้าเรือไชยและเรือพระที่นั่งลำทรง อาจมีกี่คู่ก็ได้ ว่า เรือดั้ง

คำกริยา

แก้ไข

ดั้ง (คำอาการนาม การดั้ง)

  1. (โบราณ) ป้องกัน

รากศัพท์ 2

แก้ไข

แผลงมาจาก ดัง, จากภาษาไทดั้งเดิม *ɗaŋᴬ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ດັງ (ดัง), ภาษาไทลื้อ ᦡᧂ (ดัง), ภาษาไทใหญ่ လင်/ၼင် (ลัง/นัง) (ในคำ ၶူႈလင်/ၶူႈၼင် (ขู้ลัง/ขู้นัง)), ภาษาไทใต้คง ᥘᥒ (ลัง), ภาษาอ่ายตน ဒင် (ดง์) หรือ ꩫင် (นง์), ภาษาอาหม 𑜓𑜂𑜫 (ดง์) หรือ 𑜃𑜂𑜫 (นง์), ภาษาปู้อี ndangl, ภาษาจ้วง ndaeng

คำนาม

แก้ไข

ดั้ง

  1. (ร้อยกรอง) จมูก
  2. สันจมูก, มักพูดว่า ดั้งจมูก

รากศัพท์ 3

แก้ไข

ยืมโดยเรียนรู้จากภาษาญี่ปุ่น (ดัง)

รูปแบบอื่น

แก้ไข
  • (ทับศัพท์ พ.ศ. 2535/2561) ดัง

คำนาม

แก้ไข

ดั้ง

  1. ระดับขั้น (ในกีฬาญี่ปุ่น)