ช้าง
ภาษาไทย
แก้ไขการออกเสียง
แก้ไขการแบ่งพยางค์ | ช้าง | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | cháang |
ราชบัณฑิตยสภา | chang | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /t͡ɕʰaːŋ˦˥/(สัมผัส) |
รากศัพท์ 1
แก้ไขสืบทอดจากภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม *ɟaːŋꟲ², จากภาษาไทดั้งเดิม *ɟaːŋꟲ, จากภาษาจีนยุคกลาง 象 (MC zjangX); ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨩ᩶ᩣ᩠ᨦ (ช้าง), ภาษาอีสาน ซ่าง, ภาษาลาว ຊ້າງ (ซ้าง), ภาษาไทลื้อ ᦋᦱᧂᧉ (ช้าง), ภาษาไทดำ ꪋ꫁ꪱꪉ (จ้̱าง), ภาษาไทใหญ่ ၸၢင်ႉ (จ๎าง), ภาษาไทใต้คง ᥓᥣᥒᥳ (จ๎าง), ภาษาอาหม 𑜋𑜂𑜫 (ฉง์), ภาษาจ้วง ciengh, ภาษาแสก ซาง, ภาษาจ้วงใต้ changj
คำนาม
แก้ไขช้าง (คำลักษณนาม ตัว หรือ เชือก)
- ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เป็นสัตว์บกที่ใหญ่ที่สุด ในวงศ์ Elephantidae ผิวหนังหนา สีดำหรือดำอมเทา รับสัมผัสได้ไว ขนสีดำ จมูกยื่นยาวเรียกว่า งวง ปลายงวงมีจะงอยสำหรับจับสิ่งของ ขมับทั้ง 2 ข้างมีรูเปิดของต่อมน้ำมัน จะมีน้ำมันไหลออกมาเมื่อถึงวัย ขาใหญ่เป็นลำ กินพืช มี 2 ชนิด คือ ช้างเอเชียและช้างแอฟริกา
การใช้
แก้ไขช้างตัวผู้ หรือเรียกว่า ช้างพลาย มีชื่อเรียกกันต่าง ๆ ตามลักษณะ เช่น ช้างสีดอ หรือช้างงวง หรือช้างนรการ (ช้างที่ไม่มีงา หรือมีงาสั้น)
ส่วนช้างตัวเมีย เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ช้างพัง ส่วนช้างพังที่เป็นหัวหน้าโขลงจะเรียกว่า ช้างแม่แปรก หรือคำสุภาพเรียกว่า ช้างแม่หนัก
ลักษณนามใช้แก่ช้างแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ถ้าเป็นช้างป่าหรือช้างไพร (ยังไม่ได้ฝึกหัด) ลักษณนามเรียกเป็น "ตัว" แต่ถ้าช้างนั้นขึ้นเพนียดแล้ว รวมทั้งช้างเผือกด้วยก็เรียกเป็น เชือก
ส่วนสมุหนามของช้างใช้อย่างเดียวกันทั้งหมดว่า โขลง
คำพ้องความ
แก้ไข- ดูที่ อรรถาภิธาน:ช้าง
คำแปลภาษาอื่น
แก้ไข
|
ลูกคำ
แก้ไข- กกช้าง
- กระดึงช้างเผือก
- กรามช้าง
- กล้วยงวงช้าง
- กลางช้าง
- กะเพียดช้าง
- กะลังตังช้าง
- กาวช้าง
- กาวตราช้าง
- กำลังช้างเผือก
- กำลังช้างสาร
- ขนมหูช้าง
- ขวดตีนช้าง
- ขอช้าง
- ขาดคอช้าง
- ขาดหัวช้าง
- ข้าวหางช้าง
- ขี่ช้างจับตั๊กแตน
- คอกช้าง
- คุยช้าง
- ฆ่าช้างเอางา
- งวงช้าง
- งาช้าง
- งานช้าง
- ชนช้าง
- ชั่วช้างปรบหู
- ช้างกระทืบโรง
- ช้างงวง
- ช้างชนะงา
- ช้างชำนิ
- ช้างชูงวง
- ช้างต่อ
- ช้างตายทั้งตัวเอาใบบัวมาปิด
- ช้างทำลายโรง
- ช้างน้อย
- ช้างน้าว
- ช้างน้ำ
- ช้างเนียม
- ช้างประสานงา
- ช้างป่วย
- ช้างผะชด
- ช้างเผือก
- ช้างพลาย
- ช้างพัง
- ช้างยืนแท่น
- ช้างยืนโรง
- ช้างร้อง
- ช้างสะบัดหญ้า
- ช้างสาร
- ช้างสำคัญ
- ช้างสิบตระกูล
- ช้างสีดอ
- ช้างสีปลาด
- ช้างเหยียบ
- ช้างใหญ่
- ด่านช้าง
- ดูช้างให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่
- ตกท้องช้าง
- ตะพานช้าง
- ตะพุ่นหญ้าช้าง
- ตะรังตังช้าง
- ตั๋วช้าง
- ตาบอดคลำช้าง
- ถั่วแปบช้าง
- ถามช้างตอบม้า
- ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น
- ทางช้างเผือก
- เท้าช้าง
- นมช้าง
- นเรศวร์ชนช้าง
- ใบหูช้าง
- ปงช้าง
- ปลงช้าง
- ปากช้าง
- ผัดช้าง
- ฝนไล่ช้าง
- พญาช้างเผือก
- ฟันช้าง
- มะเร็งกรามช้าง
- มากขี้ควายหลายขี้ช้าง
- แมงช้าง
- แมลงช้าง
- ยศช้างขุนนางพระ
- ย่านางช้าง
- รกช้าง
- ร่องตีนช้าง
- ลมงวงช้าง
- ล้มช้าง
- ลูกช้าง
- เลี้ยงช้างกินขี้ช้าง
- เลือดท่วมท้องช้าง
- ไล่ช้าง
- วังช้าง
- ว่านหางช้าง
- ศีรษะช้าง
- สะพานช้าง
- สัปคับช้าง
- หญ้างวงช้าง
- หญ้ารกช้าง
- หนอกช้าง
- หมอช้างเหยียบ
- หอคอยงาช้าง
- หางช้าง
- หูช้าง
- เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง
- เห็นช้างเท่าหมู
- อ้อยเข้าปากช้าง
- อ้อยช้าง
- เอาเนื้อหนูไปปะเนื้อช้าง
รากศัพท์ 2
แก้ไขคำกริยา
แก้ไขช้าง
ภาษาคำเมือง
แก้ไขการออกเสียง
แก้ไข- (เชียงใหม่) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย): /t͡ɕaːŋ˦˥/
คำนาม
แก้ไขช้าง (คำลักษณนาม ตัว)
- อีกรูปหนึ่งของ ᨩ᩶ᩣ᩠ᨦ (ช้าง)