ภาษาไทย

แก้ไข
 
วิกิพีเดียภาษาไทยมีบทความเกี่ยวกับ:
Wikipedia

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์รุ้ง
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงrúng
ราชบัณฑิตยสภาrung
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/ruŋ˦˥/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1

แก้ไข

เทียบภาษาจีนยุคกลาง (MC huwng|kuwngH|kaewngH); ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ຮຸ້ງ (ฮุ้ง)

คำนาม

แก้ไข

รุ้ง

  1. แสงที่ปรากฏบนท้องฟ้าเป็นแถบโค้งสีต่าง ๆ 7 สี คือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง ส้ม แดง
  2. สีเช่นนั้นที่ปรากฏในเพชร

คำคุณศัพท์

แก้ไข

รุ้ง

  1. (ล้าสมัย) กว้างโค้ง, โค้ง
    ขุดรุ้งรางเข้าไป

รากศัพท์ 2

แก้ไข

ร่วมเชื้อสายกับภาษาอีสาน ฮุ้ง, ภาษาลาว ຮຸ້ງ (ฮุ้ง), ภาษาคำเมือง ᩁᩩ᩶ᨦ (รุ้ง), ภาษาเขิน ᩁᩩ᩶ᨦ (รุ้ง), ภาษาไทลื้อ ᦣᦳᧂᧉ (ฮุ้ง), ภาษาไทใหญ่ ႁုင်ႉ (หุ๎ง)

ซึ่งในสมัยโบราณเชื่อว่า "รุ้ง" เป็นสัตว์ปีกในตำนานชนิดหนึ่ง

คำนาม

แก้ไข

รุ้ง

  1. (นก~, อี~) ชื่อเหยี่ยวขนาดใหญ่ชนิด Spilornis cheela (Latham) ในวงศ์ Accipitridae มีลายจุดขาวที่หัว ปีก และท้อง มีหงอนขนบริเวณท้ายทอยซึ่งจะแผ่ออกเห็นได้ชัดเจนขณะโกรธ ตกใจ หรือต่อสู้กัน ตัวสีน้ำตาลเข้ม หางสีน้ำตาลพาดขาว ทำรังแบบง่ายด้วยกิ่งไม้บนต้นไม้สูง กินสัตว์ขนาดเล็ก โดยเฉพาะงู