แรด
ดูเพิ่ม: แร็ด
ภาษาไทย
แก้ไขรากศัพท์
แก้ไขร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᩁᩯ᩠ᨯ (แรด), ภาษาอีสาน แฮด, ภาษาลาว ແຮດ (แฮด), ภาษาไทใหญ่ ႁႅတ်ႈ (แห้ต), ภาษาไทดำ ꪵꪭꪒ (แฮด)
การออกเสียง
แก้ไขการแบ่งพยางค์ {ไม่ตามอักขรวิธี; เสียงสระสั้น} | แรด | แร็่ด | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | rɛ̂ɛt | rɛ̂t |
ราชบัณฑิตยสภา | raet | raet | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /rɛːt̚˥˩/(สัมผัส) | /rɛt̚˥˩/(สัมผัส) |
คำนาม
แก้ไขแรด (คำลักษณนาม ตัว)
- ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดใหญ่ในวงศ์ Rhinocerotidae เป็นสัตว์กีบคี่ มีนิ้ว 3 นิ้ว หนังหนา ขาสั้น ตาเล็ก หูตั้ง ประสาทการมองเห็นไม่ค่อยดีแต่ประสาทการดมกลิ่นดีมาก ชอบนอนแช่ปลักโคลนตามหนองน้ำ ในประเทศไทย มี 2 ชนิด คือ แรดนอเดียว เรียกทั่วไปว่า แรด หรือแรดชวา (Rhinoceros sondaicus) และกระซู่หรือแรดสุมาตรา (Dicerorhinus sumatrensis) มีนอ 2 นอ
- (ปลา~) ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Osphronemus gouramy Lacepède ในวงศ์ Osphronemidae ลำตัวแบนข้างหนา ปากเชิด ปลายครีบท้องยื่นยาวเป็นเส้น มีลายแถบสีเข้มพาดขวางลำตัวเห็นได้ชัดโดยเฉพาะปลาขนาดเล็ก ปลาตัวผู้ขนาดใหญ่มีโหนกที่สันหัวคล้ายนอและมีสีส้ม พื้นลำตัวและครีบสีน้ำตาล ขนาดยาวได้ถึง 70 เซนติเมตร
ภาษาคำเมือง
แก้ไขการออกเสียง
แก้ไข- (เชียงใหม่) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย): /hɛːt˦˨/
คำนาม
แก้ไขแรด (คำลักษณนาม ตัว)
- อีกรูปหนึ่งของ ᩁᩯ᩠ᨯ (แรด)