ภาษาไทย

แก้ไข
 
วิกิพีเดียภาษาไทยมีบทความเกี่ยวกับ:
Wikipedia

รากศัพท์

แก้ไข

ความหมาย 1-4 เทียบคำเมือง ᨡᩦ᩶ᩈ᩠ᨿᨯ (ขี้สยด) หรือ ᩈᩦᩈ᩠ᨿᨯ (สีสยด), ลาว ສີສຽດ (สีสย̂ด) หรือ ສຽດ (สย̂ด)

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์สี-เสียด
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงsǐi-sìiat
ราชบัณฑิตยสภาsi-siat
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/siː˩˩˦.sia̯t̚˨˩/(สัมผัส)

คำนาม

แก้ไข

สีเสียด

  1. ชื่อไม้ต้นชนิด Acacia catechu (L.F.) Willd. ในวงศ์ Leguminosae กิ่งมีหนาม เนื้อไม้ให้สารที่เรียกว่า สีเสียด เช่นกัน ใช้ผสมปูนกินกับหมาก ย้อมผ้า และฟอกหนัง (คำลักษณนาม ต้น)
    คำพ้องความ: สีเสียดแก่น, สีเสียดเหนือ, สีเสียดลาว, สีเสียดเหลือง, สีเสียดหลวง, ขี้เสียด
  2. ชื่อไม้ต้นชนิด Pentace burmanica Kurz ในวงศ์ Tiliaceae เปลือกรสขมฝาดใช้กินกับหมาก (คำลักษณนาม ต้น)
    คำพ้องความ: สีเสียดเปลือก
  3. สารที่สกัดได้จากเนื้อไม้ของต้นสีเสียด (ความหมาย 1)
    คำพ้องความ: ขี้เสียด
  4. สารที่สกัดได้จากใบและกิ่งของต้นกะเมีย (Uncaria gambier Roxb.)
    คำพ้องความ: สีเสียดเทศ
  5. (ปลา~) ชื่อปลาทะเลชนิด Scomberoides lysan (Forsskål) ในวงศ์ Carangidae ลำตัวแบนข้างตัวเรียวเล็กกว่าปลาสละและปลาเฉลียบ แต่พอ ๆ กับปลาขานกยางซึ่งทั้งหมดอยู่ในสกุลเดียวกัน ลำตัวด้านบนสีเงินเทา ด้านข้างสีเงิน ขนาดยาวได้ถึง 58 เซนติเมตร (คำลักษณนาม ตัว)
  6. (แมลง~, แมง~) คำพ้องความของ ดาสวน (คำลักษณนาม ตัว)

ระเบียงภาพ

แก้ไข