ภาษาไทย

แก้ไข

การออกเสียง

แก้ไข

รากศัพท์ 1

แก้ไข

ยืมมาจากสันสกฤต सार (สาร, แก่น) หรือบาลี สาร (แก่น)

เป็นศัพท์บัญญัติสำนักงานราชบัณฑิตยสภาของ substance สำหรับความหมาย 1–2, message, information สำหรับความหมาย 4–6

คำนาม

แก้ไข

สาร

  1. แก่น, เนื้อแท้, มักใช้เข้าคู่กับคำ แก่น เป็น แก่นสาร
  2. สิ่งที่มีองค์ประกอบเป็นอย่างเดียวกัน มีสมบัติเฉพาะของตนเอง และไม่สามารถใช้วิธีกลใด ๆ มาแบ่งแยกให้เป็นส่วนอื่นที่มีองค์ประกอบและสมบัติแตกต่างออกไปได้
  3. (โบราณ) ใช้เรียกธาตุจำพวกหนึ่งและธาตุที่เข้าแทรกในต้นไม้
  4. ข้อความ, ถ้อยคำ, เรื่องราว
    กล่าวสาร
    สื่อสาร
  5. หนังสือ
    นิตยสาร
    วารสาร
  6. จดหมาย
    เขียนสาร
    สารของนายกรัฐมนตรีถึงเยาวชน

ดูเพิ่ม

แก้ไข

คำเกี่ยวข้อง

แก้ไข

รากศัพท์ 2

แก้ไข

ยืมมาจากเขมร សារ (สาร, ช้างที่มีงาเจริญเต็มที่)

คำนาม

แก้ไข

สาร

  1. ช้างใหญ่ ใช้ว่า ช้างสาร

รากศัพท์ 3

แก้ไข

คำนาม

แก้ไข

สาร

  1. ข้าวที่สีหรือตำเอาเปลือกออกแล้ว เรียกว่า ข้าวสาร

รากศัพท์ 4

แก้ไข

แผลงมาจากสันสกฤต सर्व (สรฺว, ทั้งหมด, ทั้งหลาย)

คำคุณศัพท์

แก้ไข

สาร

  1. คำประกอบหน้าคำ แปลว่า ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, ทุก
    สารทิศ
    ทุกทิศ
    สารทุกข์
    ทุกข์ทั้งหมด
    สารเลว
    เลวทั้งสิ้น

ดูเพิ่ม

แก้ไข