จิก
ภาษาไทย
แก้ไขการออกเสียง
แก้ไขการแบ่งพยางค์ | จิก | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | jìk |
ราชบัณฑิตยสภา | chik | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /t͡ɕik̚˨˩/(สัมผัส) |
รากศัพท์ 1
แก้ไขคำกริยา
แก้ไขจิก (คำอาการนาม การจิก)
- กิริยาที่เอาจะงอยปากสับอย่างอาการของนกเป็นต้น
- กิริยาที่เอาสิ่งมีปลายคมหรือแหลมกดลงพอให้ติดอยู่
- เอาเล็บจิกให้เป็นรอย
- เอาปลายเท้าจิกดินให้อยู่
- (ภาษาปาก, สแลง) โขกสับเมื่อเป็นต่อ
- เมื่อได้ท่าก็จิกเสียใหญ่
- (ภาษาปาก, สแลง) ทำร้ายด้วยคำพูดหรือสายตา
- เธอก็ดีแต่จิกคนอื่น ไม่รู้จักดูตัวเองบ้าง
- เธอพูดหวานแต่ใช้สายตาจิกลูกน้องตลอด
- (ภาษาปาก, สแลง) คว้าหรือแย่งชิงผู้ชายมาเป็นแฟน
- ไปผับคืนนี้จะต้องจิกผู้ชายให้ได้สักคน
รากศัพท์ 2
แก้ไขคำนาม
แก้ไขจิก
- ชื่อไม้ต้นขนาดกลางหลายชนิดในสกุล Barringtonia วงศ์ Lecythidaceae ขึ้นในที่ชุ่มชื้นและที่น้ำท่วมถึง ดอกสีขาว เกสรเพศผู้สีแดงมักออกเป็นช่อยาวห้อยเป็นระย้า เช่น จิกนา [B. acutangula (L.) Gaertn.] จิกบ้าน หรือ จิกสวน [B. racemosa (L.) Roxb.] จิกเล [B. asiatica (L.) Kurz]
- กระโดน, ชื่อไม้ต้นชนิด Careya sphaerica Roxb.
- ตีนตุ๊กแก, ชื่อเห็ดชนิด Lopharia papyracea (Jungh.) Reid
อ้างอิง
แก้ไข- ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมคำใหม่ เล่ม 1 ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ธนาเพรส, 2553. หน้า 42.