ดูเพิ่ม: เลย

ภาษาไทย

แก้ไข

รากศัพท์

แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม *liəᴬ⁴, จากภาษาไทดั้งเดิม *C̬.lwiəᴬ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ເລຍ (เลย), ภาษาคำเมือง ᩃ᩠ᨿᩮ (ลเย), ภาษาไทลื้อ ᦵᦟ (เล), ภาษาไทดำ ꪩꪸ (ลย̂), ภาษาไทใหญ่ လေး (เล๊), ภาษาไทใต้คง ᥘᥥᥰ (เล๊), ภาษาอาหม 𑜎𑜦 (เล), ภาษาจ้วง riz, ภาษาจ้วงแบบหนง lizภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง liz

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์เลีย
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงliia
ราชบัณฑิตยสภาlia
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/lia̯˧/(สัมผัส)

คำกริยา

แก้ไข

เลีย (คำอาการนาม การเลีย)

  1. แลบลิ้นกวาดบนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
    เลียริมฝีปาก
    หมาเลียแผล
    แมวเลียขน
  2. เรียกอาการของความร้อนหรือสิ่งที่เป็นเปลว เช่นไฟที่แลบออกมากระทบสิ่งใดแล้วทำให้สิ่งนั้นไหม้ แห้ง หรือซีดเผือดไป
    ผ้าถูกแดดเลียสี
    ฝาบ้านถูกไฟเลียเป็นรอยไหม้
  3. เรียกผมตอนเหนือท้ายทอยของเด็กอ่อนที่นอนพลิกตะแคงตัวยังไม่ได้ มีลักษณะแหว่งเป็นแถบยาวตามขวาง คล้ายมีอะไรมากัดแทะไปว่า ถูกผ้าอ้อมเลีย หรือ ผ้าอ้อมกัด
  4. (ภาษาปาก, สแลง) ประจบประแจงด้วยอาการดูประหนึ่งว่าเป็นอย่างสุนัขเลียแข้งเลียขาเพื่อให้นายรัก
    ลุกเป็นไฟ! ส.ว. ด่า ส.ส. ขี้ข้าโจร ก่อนเจอสวนกลับเลียรองเท้าทหาร