แขยง
ภาษาไทย
แก้ไขการออกเสียง
แก้ไขการแบ่งพยางค์ | ขะ-แหฺยง | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | kà-yɛ̌ɛng |
ราชบัณฑิตยสภา | kha-yaeng | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /kʰa˨˩.jɛːŋ˩˩˦/(สัมผัส) |
รากศัพท์ 1
แก้ไขคำนาม
แก้ไขแขยง
- ชื่อปลาน้ำจืดแทบทุกชนิดในวงศ์ Bagridae มีตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ ยาวได้ถึง 50 เซนติเมตร ไม่มีเกล็ด มีหนวดยาว 4 คู่ ส่วนหน้าสุดของครีบหลังตอนแรกและครีบอกมีก้านครีบแข็ง 1 ก้าน หยักเป็นหนามคม ถัดไปเป็นก้านครีบอ่อน ส่วนครีบท้องตอนที่ 2 เป็นครีบไขมันลักษณะเป็นแผ่นเนื้อขนาดเล็กหรือใหญ่ขึ้นกับชนิดของปลา ครีบก้นสั้น รูปร่างคล้ายปลากดแต่มีขนาดเล็กกว่า เช่น แขยงหินหรือกดหิน (Pseudomystus siamensis Regan) แขยงใบข้าว [Mystus cavasius (Hamilton-Buchanan)] แขยงธงหรือแขยงหมู (M. bocourti Bleeker) แขยงวังหรือแขยงหนู (Bagrichthys obscures Bleeker)