ดูเพิ่ม: หมู, หมู่, หิม, หุม, หุ้ม, และ ห่ม

ภาษาไทย แก้ไข

 
วิกิพีเดียมีบทความเกี่ยวกับ:
Wikipedia

การออกเสียง แก้ไข

การแบ่งพยางค์หฺมี
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงmǐi
ราชบัณฑิตยสภาmi
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/miː˩˩˦/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1 แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *ʰmwɯjᴬ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᩉ᩠ᨾᩦ (หมี), ภาษาลาว ໝີ (หมี), ภาษาไทลื้อ ᦖᦲ (หฺมี), ภาษาไทดำ ꪢꪲ (หฺมิ), ภาษาไทใหญ่ မီ (มี), ภาษาไทใต้คง ᥛᥤᥴ (มี๋), ภาษาอาหม 𑜉𑜣 (มี), ภาษาจ้วง mui, ภาษาจ้วงแบบหนง mue, ภาษาปู้อี moil; เทียบภาษาออสโตรนีเซียนดั้งเดิม *Cumay, ภาษาจีนเก่า (OC *meʔ)

คำนาม แก้ไข

หมี (คำลักษณนาม ตัว)

  1. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Ursidae ตาและใบหูกลมเล็ก ริมฝีปากยื่นแยกห่างออกจากเหงือก สามารถยืนและเดินด้วยขาหลังได้ ประสาทการดมกลิ่นดีกว่าประสาทตาและหู กินพืชและสัตว์ ในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ หมีควาย [Selenarctos thibetanus (G. Cuvier)] ตัวใหญ่ ขนยาวดำ ที่อกมีขนสีขาวรูปง่าม และ หมีหมาหรือหมีคน [Helarctos malayanus (Raffles)] ซึ่งตัวเล็กกว่าหมีควาย ขนสั้นดำ ที่อกมีขนสีขาวรูปคล้ายเกือกม้า
คำพ้องความ แก้ไข
คำแปลภาษาอื่น แก้ไข

รากศัพท์ 2 แก้ไข

แผลงมาจาก หี

คำนาม แก้ไข

หมี

  1. (ภาษาปาก, สแลง, ร้อยกรอง) อวัยวะเพศหญิง
    เห็นหมีหนูไหม เห็นหมีหนูไหม เห็นหมีหนูมั่งไหม มันตัวไม่ใหญ่ มันตัวไม่ใหญ่ ขนดำดำ
    (เพลง เห็นหมีหนูไหม)