ดูเพิ่ม: หา, หำ, ห้า, และ ห้ำ

ภาษาไทย แก้ไข

การออกเสียง แก้ไข

การแบ่งพยางค์ห่า
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงhàa
ราชบัณฑิตยสภาha
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/haː˨˩/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1 แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *raːᴮ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᩁ᩵ᩣ (ร่า), ภาษาเขิน ᩁ᩵ᩣ (ร่า), ภาษาอีสาน ห่า, ภาษาลาว ຮ່າ (ฮ่า), ภาษาไทใหญ่ ႁႃႈ (ห้า), ภาษาพ่าเก ꩭႃ (หา), ภาษาอาหม 𑜍𑜠 (ระ), ภาษาจ้วง raq, ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง raq

คำนาม แก้ไข

ห่า

  1. ชื่อผีจำพวกหนึ่ง ถือกันว่าทำให้เกิดโรคระบาดอย่างร้ายแรง เป็นเหตุให้คนตายจำนวนมาก เช่น โรคลงราก (อหิวาตกโรค) กาฬโรค จึงเรียกโรคนี้ว่า โรคห่า
    ผีห่าซาตาน
  2. (ภาษาปาก, หยาบคาย) ใช้เรียกบุคคลที่ไม่พึงประสงค์
    ไอ้ห่า
    อีห่า
  3. (ภาษาปาก, ล้าสมัย) อหิวาตกโรค
    โรคห่า

รากศัพท์ 2 แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *kraːᴮ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᩉ᩵ᩣ (ห่า), ภาษาเขิน ᩉ᩵ᩣ (ห่า), ภาษาอีสาน ห่า, ภาษาลาว ຫ່າ (ห่า), ภาษาไทใหญ่ ႁႃႇ (ห่า), ภาษาไทลื้อ ᦠᦱᧈ (ห่า), ภาษาพ่าเก ꩭႃ (หา), ภาษาอาหม 𑜍𑜠 (ระ), ภาษาจ้วง haq, ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง haq

คำนาม แก้ไข

ห่า

  1. (โบราณ) หน่วยวัดปริมาณน้ำฝนโดยกำหนดว่า ถ้าตกลงมาเต็มบาตรขนาดกลางที่ตั้งรองไว้กลางแจ้ง เรียกว่า น้ำฝนห่าหนึ่ง
  2. โดยปริยายใช้กับสิ่งที่มาหรือตกลงมาเป็นจำนวนมาก, บางทีก็ใช้ว่า ห่าฝน
    ฝนตกลงมาห่าใหญ่
    ฝูงเครื่องบินทิ้งระเบิดถล่มข้าศึกเป็นห่าฝน

ภาษาอีสาน แก้ไข

รูปแบบอื่น แก้ไข

  • ห้า (สะกดตามภาษาไทยหรือลาว)

เลข แก้ไข

ห่า

  1. ห้า