ดูเพิ่ม: ส่วน

ภาษาไทย

แก้ไข

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์สวน
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงsǔuan
ราชบัณฑิตยสภาsuan
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/sua̯n˩˩˦/(สัมผัส)
คำพ้องเสียงสรวล

รากศัพท์ 1

แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *swɯːnᴬ; เทียบภาษาจีนยุคกลาง (MC hjwon); ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᩈ᩠ᩅᩁ (สวร), ภาษาลาว ສວນ (สวน), ภาษาไทลื้อ ᦷᦉᧃ (โสน), ภาษาไทดำ ꪎꪺꪙ (สัวน), ภาษาไทขาว ꪎꪺꪙ, ภาษาไทใหญ่ သူၼ် (สูน), ภาษาอาหม 𑜏𑜤𑜃𑜫 (สุน์), ภาษาจ้วง suen

คำนาม

แก้ไข

สวน

  1. บริเวณที่ปลูกต้นไม้เป็นจำนวนมาก
    สวนทุเรียน
    สวนยาง
    สวนกุหลาบ
    สวนผัก
  2. (ในเชิงเปรียบเทียบ) สถานที่ซึ่งมีลักษณะเช่นนั้นในบางกรณี
    สวนสัตว์
    สวนงู
คำแปลภาษาอื่น
แก้ไข
คำสืบทอด
แก้ไข
  • เขมร: សួន (สัวน)

รากศัพท์ 2

แก้ไข

ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ສວນ (สวน)

คำกริยา

แก้ไข

สวน (คำอาการนาม การสวน)

  1. อาการที่เคลื่อนไปตรงข้ามในเส้นทางเดียวกัน
    เดินสวนกัน
    มีรถสวนมา
  2. (ล้าสมัย) เทียบสอบขนาดหรือปริมาณเครื่องตวง
    สวนสัด
    สวนทะนาน
  3. เอาสายสวนใส่ทางช่องปัสสาวะให้เข้าไปในกระเพาะปัสสาวะเพื่อให้ปัสสาวะออก
  4. เอาลูกสวนใส่ทวารหนักแล้วบีบน้ำยาหรือน้ำสบู่ให้เข้าไปในลำไส้ใหญ่เพื่อกระตุ้นให้ลำไส้ใหญ่บีบตัวให้อุจจาระออก

รากศัพท์ 3

แก้ไข

คำกริยา

แก้ไข

สวน (คำอาการนาม การสวน)

  1. เย็บแบบด้วยดอกไม้หรือใบไม้ให้เป็นแถบยาว เพื่อใช้ตกแต่งประดับโครงประทุนคลุมผ้าไตรเป็นต้น

รากศัพท์ 4

แก้ไข

ยืมมาจากภาษาเขมรเก่า *ស្វរ៑ (*สฺวรฺ, ถาม),[1] สามารถแผลงเป็น សំន្វរ៑ (สํนฺวรฺ) ซึ่งเป็นรากของ สำนวน; ร่วมเชื้อสายกับภาษาเขมร សួរ (สัวร)

คำกริยา

แก้ไข

สวน (คำอาการนาม การสวน)

  1. (โบราณ, ปัจจุบันอยู่ในคำประสม, สกรรม) ถาม[1]
ลูกคำ
แก้ไข

รากศัพท์ 5

แก้ไข

ยืมมาจากภาษาบาลี สวน; เทียบภาษาสันสกฤต श्रवण (ศฺรวณ)

รูปแบบอื่น

แก้ไข

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์[เสียงสมาส]
สะ-วะ-นะ-
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงsà-wá-ná-
ราชบัณฑิตยสภาsa-wa-na-
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/sa˨˩.wa˦˥.na˦˥./

คำนาม

แก้ไข

สวน

  1. (ภาษาหนังสือ) การฟัง
ลูกคำ
แก้ไข

อ้างอิง

แก้ไข
  1. 1.0 1.1 ราชบัณฑิตยสภา (2020) พจนานุกรมโบราณศัพท์ ฉบับราชบัณฑิตยสภา, กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, →ISBN, page 312