ภาษาไทย แก้ไข

รูปแบบอื่น แก้ไข

รากศัพท์ แก้ไข

จากภาษาบาลี ธาตุ, จากภาษาสันสกฤต धातु (ธาตุ, ส่วนประกอบ, แร่, ธาตุ (เคมี), ราก, น้ำเชื้อ เป็นต้น) สันนิษฐานว่าผ่านทางภาษาเขมรเก่า ធាតុ (ธาตุ, สาร, ธาตุ, สิ่งตกทอด, สิ่งหลงเหลือ) เทียบกับภาษาลาว ທາດ (ทาด)

การออกเสียง แก้ไข

การแบ่งพยางค์ทาด[เสียงสมาส]
ทา-ตุ-
[เสียงสมาส]
ทาด-ตุ-
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงtâattaa-dtù-tâat-dtù-
ราชบัณฑิตยสภาthattha-tu-that-tu-
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/tʰaːt̚˥˩/(สัมผัส)/tʰaː˧.tu˨˩.//tʰaːt̚˥˩.tu˨˩./
คำพ้องเสียงทาษ
ทาส

คำนาม แก้ไข

ธาตุ (คำลักษณนาม ธาตุ)

  1. สิ่งที่ถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่คุมกันเป็นร่างของสิ่งทั้งหลาย
    1. โดยทั่วไปเชื่อว่ามี 4 ธาตุ ได้แก่ ธาตุดิน (ปฐวีธาตุ) ธาตุน้ำ (อาโปธาตุ) ธาตุไฟ (เตโชธาตุ) ธาตุลม (วาโยธาตุ)
    2. ในทางพระพุทธศาสนาถือว่าสิ่งที่มีชีวิตเพิ่มอีก 2 ธาตุ คือ อากาศธาตุ (ที่ว่าง) และวิญญาณธาตุ (ธาตุรู้)
  2. (ศาสนาพุทธ) กระดูกของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันต์ โดยทั่วไปเรียกรวมว่า พระธาตุ
    1. ถ้าเป็นกระดูกของพระพุทธเจ้า เรียก พระบรมธาตุ หรือ พระบรมสารีริกธาตุ
    2. ถ้าเป็นกระดูกส่วนใดส่วนหนึ่งของพระพุทธเจ้า ก็เรียกตามความหมายของคำนั้น ๆ เช่น พระอุรังคธาตุ พระทันตธาตุ, ถ้าเป็นผมของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระเกศธาตุ
  3. (ศาสนาพุทธ) ชื่อคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาซึ่งว่าด้วยธาตุ (1)
  4. (เคมี) สารเนื้อเดียวล้วนซึ่งประกอบด้วยบรรดาอะตอมที่มีโปรตอนจำนวนเดียวกันในนิวเคลียส
  5. (ไวยากรณ์) รากศัพท์ของคำบาลีสันสกฤต เป็นต้น เช่น
    "ธาตุ" มาจาก "ธา ธาตุ" ในความว่า "ทรงไว้"
    "สาวก" มาจาก "สุ ธาตุ" ในความว่า "ฟัง"
    "กริยา" มาจาก "กฤ ธาตุ" ในความว่า "กระทำ"

คำเกี่ยวข้อง แก้ไข

ภาษาอีสาน แก้ไข

คำนาม แก้ไข

ธาตุ

  1. เจดีย์ที่บรรจุกระดูกคนที่เผาแล้ว

ภาษาบาลี แก้ไข

รากศัพท์ แก้ไข

ธา +‎ ตุ หรือ ธา +‎ ตรฺ

รูปแบบอื่น แก้ไข

คำนาม แก้ไข

ธาตุ ญ. หรือ ช.

  1. อีกรูปหนึ่งของ ธาตรฺ: ธาตุ

คำนาม แก้ไข

ธาตุ ช.

  1. ธาตุศัพท์

การผันรูป แก้ไข

แจกตามแบบ รชฺชุ

หรือแจกตามแบบ สตฺถุ หรือ สตฺถรฺ (กติปยศัพท์)

ข้อผิดพลาด Lua ใน package.lua บรรทัดที่ 80: module 'Module:pi-Latn-translit' not found