ดูเพิ่ม: ส้าง

ภาษาไทย

แก้ไข

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์สาง
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงsǎang
ราชบัณฑิตยสภาsang
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/saːŋ˩˩˦/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1

แก้ไข

ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ສາງ (สาง), ภาษาอาหม 𑜏𑜂𑜫 (สง์, ผู้สร้าง, พรหม, เทวดา), ภาษาไทใต้คง ᥔᥣᥒᥴ (ส๋าง, เทวดา), ภาษาไทใหญ่ သၢင် (สาง, ผู้สร้าง, พรหม, เทวดา); นอกจากนี้ เสฐียรโกเศศ (2503) ก็ยังเทียบ ภาษาจีน (shèng, ศักดิ์สิทธิ์)[1]

คำนาม

แก้ไข

สาง

  1. ผี, บางทีใช้เข้าคู่กันเป็น ผีสาง
  2. กลิ่นเหม็นของซากศพ ซากสัตว์
    เหม็นสาบเหม็นสาง
  3. โดยปริยายหมายความว่า มีกลิ่นเหม็นคล้ายคลึงเช่นนั้น

รากศัพท์ 2

แก้ไข

คำนาม

แก้ไข

สาง

  1. สัตว์ในนิยาย เข้าใจกันว่ามีรูปร่างอย่างเสือ

รากศัพท์ 3

แก้ไข

คำนาม

แก้ไข

สาง

  1. (ร้อยกรอง) ช้าง
    เสือสางสรรโสงสรรพและไกร สรร้องสำเทินสาร
    (สมุทรโฆษ)

รากศัพท์ 4

แก้ไข

ยืมมาจากภาษาเขมร ស្រាង (สฺราง, แสงตอนเช้ามืด)

คำนาม

แก้ไข

สาง

  1. ปรากฏการณ์บนท้องฟ้าในเวลาเช้ามืด เริ่มแต่มีความมืดน้อยลงตามลำดับ จนกว่าจะสว่างแจ้งเป็นที่สุด เรียกว่า ท้องฟ้าสาง

คำกริยา

แก้ไข

สาง (คำอาการนาม การสาง)

  1. ทำให้แจ้งให้กระจ่าง
    สางคดี

รากศัพท์ 5

แก้ไข

คำนาม

แก้ไข

สาง

  1. หวี, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระสาง

คำกริยา

แก้ไข

สาง (คำอาการนาม การสาง)

  1. ทำให้หายยุ่ง
    สางผม

อ้างอิง

แก้ไข
  1. เสฐียรโกเศศ. (2503). เมืองสวรรค์และผีสางเทวดา. พระนคร: แพร่พิทยา, 351. สืบค้นจาก [1]