ดูเพิ่ม: น.ม., นัม, นิม, นิ่ม, และ นุ่ม

ภาษาไทย

แก้ไข

รากศัพท์ 1

แก้ไข

ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨶᩫ᩠ᨾ (น็ม), ภาษาลาว ນົມ (น็ม), ภาษาไทลื้อ ᦓᦳᧄ (นุม), ภาษาไทใหญ่ ၼူမ်း (นู๊ม), ภาษาไทดำ ꪶꪙꪣ (โนม), ภาษาอาหม 𑜃𑜤𑜪 (นุํ), ภาษาจ้วง noemz

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์นม
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงnom
ราชบัณฑิตยสภาnom
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/nom˧/(สัมผัส)

คำนาม

แก้ไข

นม

  1. ส่วนของร่างกาย อยู่บริเวณหน้าอก มี 2 เต้า, ของผู้หญิงมีต่อมสำหรับผลิตน้ำนมเป็นอาหารสำหรับลูกอ่อน ส่วนของผู้ชายมีขนาดเล็กและไม่มีน้ำนม, นมของสัตว์บางชนิด เช่น ลิง ค่าง ก็มี 2 เต้า เช่นเดียวกับคน ส่วนของสัตว์บางชนิด เช่น สุนัข วัว ควาย มีหลายเต้าเรียงอยู่ที่ท้องเป็น 2 แถว
  2. แม่นม, ราชาศัพท์ว่า พระนม
  3. น้ำนม
    เลี้ยงลูกด้วยนม
  4. ชื่อสิ่งที่เป็นเต้าเป็นปุ่มคล้ายนม
    นมทองหลาง
    นมจะเข้
  5. เรียกสิ่งที่มีลักษณะเป็นปุยขาวห่อหุ้มต้นผักกระเฉดว่า นมผักกระเฉด
  6. เรียกสิ่งที่มีลักษณะเป็นปุยขาวห้อยติดอยู่ตามข้อพังพวยว่า นมพังพวย

คำพ้องความ

แก้ไข
เต้านม

ลูกคำ

แก้ไข
ลูกคำ

คำแปลภาษาอื่น

แก้ไข

รากศัพท์ 2

แก้ไข

ยืมมาจากภาษาบาลี นม (นอบน้อม)

รูปแบบอื่น

แก้ไข

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์[เสียงสมาส]
นะ-มะ-
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงná-má-
ราชบัณฑิตยสภาna-ma-
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/na˦˥.ma˦˥./

คำนาม

แก้ไข

นม

  1. (ภาษาหนังสือ) การนอบน้อม, การเคารพ, การไหว้

รากศัพท์ 3

แก้ไข

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์นอ-มอ
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงnɔɔ-mɔɔ
ราชบัณฑิตยสภาno-mo
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/nɔː˧.mɔː˧/(สัมผัส)

คำวิสามานยนาม

แก้ไข

นม

  1. อักษรย่อของ นครราชสีมา

ดูเพิ่ม

แก้ไข