พะโล้
ภาษาไทย
แก้ไขรากศัพท์
แก้ไขยืมมาจากฮกเกี้ยน 拍滷 (phah-ló͘, แปลตามตัวอักษรว่า “ตีน้ำเกรวี่”)[1]; ร่วมเชื้อสายกับเวียดนาม phá lấu, เขมร ផាក់ឡូវ (ผาก̍ฬูว)
การออกเสียง
แก้ไขการแบ่งพยางค์ | พะ-โล้ | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | pá-lóo |
ราชบัณฑิตยสภา | pha-lo | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /pʰa˦˥.loː˦˥/(สัมผัส) |
คำนาม
แก้ไขพะโล้
- ชื่ออาหารแบบจีนชนิดหนึ่ง ใช้ลูกโป๊ยกั้ก อบเชย และเครื่องเทศอื่น ๆ ตำเคล้าคลุกกับเป็ดหรือห่านเป็นต้นให้เข้ากันดี และเคี่ยวจนน้ำแห้ง, ถ้าทำอย่างไทยใช้น้ำตาลปี๊บเคี่ยวกับซีอิ๊วและน้ำปลา ใส่เครื่องเทศมีโป๊ยกั้ก อบเชย เป็นต้น มีรสหวานเค็ม ใส่เนื้อสัตว์ มีหมูสามชั้น เป็ด ขาหมู เป็นต้น มักจะมันมาก
- ไข่พะโล้
- เป็ดพะโล้
- หมูพะโล้
- ขาหมูพะโล้
- (ภาษาปาก, สแลง) หญิงมีอายุที่อ้วนมาก ๆ[2]
- กินข้าวขาหมูมาก ๆ ระวังจะเป็นพะโล้นะ
อ้างอิง
แก้ไข- ↑ Notes on Modern Chinese Loanwords in Thai
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมคำใหม่ เล่ม 1 ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ธนาเพรส, 2553. หน้า 116.