ภาษาไทย

แก้ไข

รากศัพท์

แก้ไข

อัยยะ +‎ การ, อัยยะ มาจากภาษาบาลี อยฺย (เจ้า, ผู้เป็นใหญ่)

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์
{เสียงพยัญชนะซ้ำ}
ไอ-ยะ-กาน
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงai-yá-gaan
ราชบัณฑิตยสภาai-ya-kan
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/ʔaj˧.ja˦˥.kaːn˧/(สัมผัส)

คำนาม

แก้ไข

อัยการ

  1. การของเจ้า
  2. (โบราณ) ตัวบทกฎหมาย เรียกว่า พระอัยการ
  3. (กฎหมาย) ชื่อสำนักงานที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาทั้งปวง ดำเนินคดีแพ่ง และให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนและอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย เรียกว่า สำนักงานอัยการสูงสุด, เดิมเรียกว่า กรมอัยการ
  4. (กฎหมาย) เจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะทนายแผ่นดินเพื่ออำนวยความยุติธรรม รักษาผลประโยชน์ของรัฐ และคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน เรียกว่า พนักงานอัยการ หรือ ข้าราชการอัยการ
  5. (กฎหมาย) เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล ทั้งนี้ จะเป็นข้าราชการในสำนักงานอัยการสูงสุดหรือเจ้าพนักงานอื่นผู้มีอำนาจเช่นนั้นก็ได้, โบราณเรียกว่า พนักงานรักษาพระอัยการ ยกกระบัตร หรือ ยกบัตร