ดูเพิ่ม: ปาน และ ป้าน

ภาษาไทย

แก้ไข

รากศัพท์

แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *paːnᴮ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ປ່ານ (ป่าน), ภาษาคำเมือง ᨸ᩵ᩣ᩠ᨶ (ป่าน), ภาษาเขิน ᨸ᩵ᩣ᩠ᨶ (ป่าน), ภาษาไทลื้อ ᦔᦱᧃᧈ (ป่าน), ภาษาไทใหญ่ ပၢၼ်ႇ (ป่าน), ภาษาพ่าเก ပꩫ် (ปน์), ภาษาอาหม 𑜆𑜃𑜫 (ปน์), ภาษาจ้วง banq, ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง banq (ป่าน)

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์ป่าน
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงbpàan
ราชบัณฑิตยสภาpan
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/paːn˨˩/(สัมผัส)

คำนาม

แก้ไข

ป่าน

  1. ชื่อพรรณไม้หลายชนิดหลายสกุลในหลายวงศ์ เปลือกเป็นใยเหนียว ใช้ทอผ้าและทำเชือก เช่น ป่านรามี [Boehmeria nivea (L.) Gaudich.] ในวงศ์ Urticaceae, ป่านมนิลา (Musa textilis Née.) ในวงศ์ Musaceae
  2. เชือกที่ทำด้วยป่าน, ถ้าใช้ชักว่าว เรียกว่า ป่านว่าว, ถ้าเป็นเส้นเล็ก เรียกว่า ป่านแลบ, ถ้ายังเป็นกาบอยู่ ยังไม่ได้ฟั่นเชือก เรียกว่า ป่านกลีบ
  3. ชื่อผ้าเนื้อละเอียดและบางโปร่งที่ทอจากเส้นใยพืชบางชนิด เรียกว่า ผ้าป่าน