ดูเพิ่ม: แลน

ภาษาไทย

แก้ไข

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์
{ไม่ตามอักขรวิธี; เสียงสระสั้น}
แล็่น
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงlɛ̂n
ราชบัณฑิตยสภาlaen
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/lɛn˥˩/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1

แก้ไข

ร่วมเชื้อสายกับอีสาน แล่น, ลาว ແລ່ນ (แล่น), ไทลื้อ ᦶᦟᧃᧈ (แล่น), ไทดำ ꪵꪩ꪿ꪙ (แล่น), ไทใหญ่ လႅၼ်ႈ (แล้น), อาหม 𑜎𑜢𑜐𑜫 (ลิญ์), ภาษาจ้วง lenh (แล่น)

คำกริยา

แก้ไข

แล่น (คำอาการนาม การแล่น)

  1. เคลื่อนไปด้วยเครื่องยนต์หรือแรงลมเป็นต้น
    รถยนต์แล่นเร็ว
    เรือใบแล่นช้า
  2. โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น
    สมองกำลังแล่น
    ความคิดไม่แล่น

คำนาม

แก้ไข

แล่น

  1. (ล้าสมัย) ชื่อวัยของเด็กถัดจากวัยจูง เรียกว่า วัยแล่น

รากศัพท์ 2

แก้ไข

คำนาม

แก้ไข

แล่น

  1. (ล้าสมัย) หลอดสำหรับเป่าไฟเพื่อเชื่อมโลหะเช่นทอง นาก เงินให้ติดกัน

คำกริยา

แก้ไข

แล่น (คำอาการนาม การแล่น)

  1. (ล้าสมัย) เรียกกิริยาที่ใช้หลอดเป่าไฟเพื่อเชื่อมโลหะดังกล่าวว่า เป่าแล่น
  2. (ล้าสมัย) เชื่อมถึงกัน
    นอกชานแล่นถึงกัน

ภาษาอีสาน

แก้ไข

รากศัพท์

แก้ไข

ร่วมเชื้อสายกับไทย แล่น, ลาว ແລ່ນ (แล่น), ไทลื้อ ᦶᦟᧃᧈ (แล่น), ไทใหญ่ လႅၼ်ႈ (แล้น), อาหม 𑜎𑜢𑜐𑜫 (ลิญ์)

คำกริยา

แก้ไข

แล่น (คำอาการนาม การแล่น)

  1. วิ่ง