เป่า
ภาษาไทย
แก้ไขรากศัพท์
แก้ไขสืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *powᴮ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨸᩮᩢ᩵ᩣ (เปั่า), ภาษาลาว ເປົ່າ (เป็่า), ภาษาไทลื้อ ᦔᧁᧈ (เป่า), ภาษาไทดำ ꪹꪜ꪿ꪱ (เป่า), ภาษาไทขาว ꪹꪜꪱꫀ, ภาษาTai Do pảu, ภาษาตั่ย pấu, ภาษาไทใหญ่ ပဝ်ႇ (ป่ว), ภาษาไทใต้คง ᥙᥝᥱ (เป่า), ภาษาพ่าเก ပွ် (เปา), ภาษาอาหม 𑜆𑜧 (ปว์) หรือ 𑜆𑜨𑜧 (ปอ̂ว์), ภาษาจ้วง boq, ภาษาจ้วงแบบจั่วเจียง baeuq
การออกเสียง
แก้ไขการแบ่งพยางค์ | เป่า | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | bpào |
ราชบัณฑิตยสภา | pao | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /paw˨˩/(สัมผัส) |
คำกริยา
แก้ไขเป่า (คำอาการนาม การเป่า)
- พ่นลมออกมาทางปาก
- อาการที่ลมพุ่งเข้ามาหรือออกไปเช่นนั้น
- ตรงหน้าต่างลมเป่าดี
- ทำให้เครื่องดนตรีหรือสิ่งอื่นเกิดเสียงโดยใช้ลมปาก
- เป่าขลุ่ย
- ทำให้สิ่งที่อยู่ในลำกล้องเช่นกล้องเป่าเป็นต้น ออกจากลำกล้องโดยวิธีเป่า
- เป่ายานัตถุ์
- เป่าลูกดอก
- (ภาษาปาก, สแลง) ฆ่าคนด้วยการยิง
- ไปขัดผลประโยชน์เจ้าพ่อเข้า ระวังจะถูกเป่าดับ
อ้างอิง
แก้ไข- ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมคำใหม่ เล่ม 3 ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ยูเนียนอุลตร้าไวโอเร็ต, 2554. หน้า 75.