ดูเพิ่ม: ล่อง

ภาษาไทย แก้ไข

 
วิกิพีเดียมีบทความเกี่ยวกับ:
Wikipedia

การออกเสียง แก้ไข

การแบ่งพยางค์ลอง
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงlɔɔng
ราชบัณฑิตยสภาlong
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/lɔːŋ˧/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1 แก้ไข

คำนาม แก้ไข

ลอง

  1. ของที่ทำรองรับไว้ชั้นใน
    ลองพระสุพรรณราช
  2. สิ่งที่ทำขึ้นสำหรับใส่ศพนั่ง รูปทรงกระบอก ก้นสอบ ปากผาย มีฐานและฝาทรงมัณฑ์ ทำด้วยเงินหรือทองแดง ใช้ทรงพระบรมศพ พระศพ หรือศพ ตั้งอยู่ในพระโกศหรือโกศ
การใช้ แก้ไข

(2) ราชาศัพท์ใช้ว่า พระลอง

คำประสม แก้ไข
ดูเพิ่ม แก้ไข

รากศัพท์ 2 แก้ไข

ร่วมเชื้อสายกับภาษาอีสาน ลอง, ภาษาลาว ລອງ (ลอง), ภาษาคำเมือง ᩃᩬᨦ (ลอง), ภาษาเขิน ᩃᩬᨦ (ลอง), ภาษาไทลื้อ ᦟᦸᧂ (ลอ̂ง), ภาษาไทดำ ꪩꪮꪉ (ลอง), ภาษาเขมร លង (ลง)

คำกริยา แก้ไข

ลอง (คำอาการนาม การลอง)

  1. กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้รู้ว่าเป็นอย่างไร
    ลองชิมผลไม้ว่าจะมีรสชาติอย่างไร
  2. กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้รู้ว่าเป็นอะไรหรือใช่หรือไม่
    ลองชิมก้อนขาว ๆ ว่าเป็นเกลือหรือน้ำตาล
  3. ทดสอบความสามารถหรือคุณภาพว่าพอดีหรือเหมาะสมหรือไม่
    ลองเสื้อ
    ลองแว่น
    ลองรองเท้า
    ลองกำลัง
    ลองรถ
  4. หยั่งท่าที
    ลองชวนเขาไปเที่ยวซิ
    ลองเกี้ยวเขาดู

คำประสม แก้ไข

ดูเพิ่ม แก้ไข

คำวิสามานยนาม แก้ไข

ลอง

  1. ชื่ออำเภอหนึ่งในจังหวัดแพร่

ภาษาเลอเวือะตะวันออก แก้ไข

การออกเสียง แก้ไข

รากศัพท์ 1 แก้ไข

คำกริยา แก้ไข

ลอง

  1. ไหล

รากศัพท์ 2 แก้ไข

สืบทอดจากภาษาปะหล่องดั้งเดิม *laŋ

คำคุณศัพท์ แก้ไข

ลอง

  1. ดำ