ภาษาไทยแก้ไข

รากศัพท์แก้ไข

จากภาษาไทดั้งเดิม *ʰloŋᴬ; ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᩉᩖᩫᨦ (หล็ง), ภาษาลาว ຫຼົງ (หล็ง), ภาษาไทลื้อ ᦷᦜᧂ (โหฺลง), ภาษาไทใหญ่ လူင် (ลูง), ภาษาไทใต้คง ᥘᥨᥒᥴ (โล๋ง), ภาษาจ้วง loeng, ภาษาจ้วงแบบหนง loang

การออกเสียงแก้ไข

การแบ่งพยางค์หฺลง
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงlǒng
ราชบัณฑิตยสภาlong
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/loŋ˩˩˦/(สัมผัส)

คำกริยาแก้ไข

หลง (คำอาการนาม การหลง)

  1. สำคัญผิด, เข้าใจผิด
    กาหลงเข้าใจว่าไข่นกดุเหว่าเป็นไข่ของตน
  2. หมกมุ่น, มัวเมา, คลั่งไคล้, เคลิบเคลิ้ม
    หลงในอบายมุข
    หลงเสน่ห์
  3. พลัด
    กาหลงเข้าไปในฝูงหงส์
  4. เข้าไปแล้วหาทางออกไม่ได้
    หลงป่า
    หลงทาง
  5. เหลืออยู่, ตกค้างอยู่
    มะม่วงหลง
    ฝนหลงฤดู
  6. มีความจำเลอะเลือน, สติเฟือนไป
    พอแก่ก็ชักจะหลงแล้ว
  7. เรียกเสียงที่แผดดังผิดปรกติ หรือเสียงที่ผิดระดับเสียงดนตรีว่า เสียงหลง

คำคุณศัพท์แก้ไข

หลง (คำอาการนาม ความหลง)

  1. เลอะเลือน, จำได้บ้างไม่ได้บ้าง, ขี้หลงขี้ลืม ก็ว่า