ภาษาไทย

แก้ไข
 
วิกิพีเดียภาษาไทยมีบทความเกี่ยวกับ:
Wikipedia

รูปแบบอื่น

แก้ไข

รากศัพท์

แก้ไข

ยืมมาจากภาษาสันสกฤต भाषा (ภาษา); เทียบภาษาบาลี ภาสา

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์พา-สา
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงpaa-sǎa
ราชบัณฑิตยสภาpha-sa
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/pʰaː˧.saː˩˩˦/(สัมผัส)
ไฟล์เสียง

คำนาม

แก้ไข

ภาษา (คำลักษณนาม ภาษา)

  1. ถ้อยคำที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือเพื่อสื่อความเฉพาะวงการ
    ภาษาไทย
    ภาษาจีน
    ภาษาราชการ
    ภาษากฎหมาย
    ภาษาธรรม
  2. เสียง ตัวหนังสือ หรือกิริยาอาการที่สื่อความได้
    ภาษาพูด
    ภาษาเขียน
    ภาษาท่าทาง
    ภาษามือ
  3. (โบราณ) คนหรือชาติที่พูดภาษานั้น
    มอญ ลาว ทะวาย นุ่งห่มและแต่งตัวตามภาษา
    (พงศ. ร. 3)
  4. (การคอมพิวเตอร์) กลุ่มของชุดอักขระ สัญนิยม และกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์
    ภาษาซี
    ภาษาจาวา
  5. โดยปริยายหมายความว่าสาระ, เรื่องราว, เนื้อความที่เข้าใจกัน
    ตกใจจนพูดไม่เป็นภาษา
    เขียนไม่เป็นภาษา
    ทำงานไม่เป็นภาษา

คำแปลภาษาอื่น

แก้ไข