ดูเพิ่ม: ไก, ไกฺ, ไก้, ไก๊, และ ไก๋

ภาษาไทย

แก้ไข
 
(1) ไก่

รากศัพท์

แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *kajᴮ, จากภาษาจีนยุคกลาง (MC kej); ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨠᩱ᩵ (ไก่), ภาษาลาว ໄກ່ (ไก่), ภาษาไทลื้อ ᦺᦂᧈ (ไก่), ภาษาไทดำ ꪼꪀ꪿ (ไก่), ภาษาไทขาว ꪼꪀꫀ, ภาษาไทใหญ่ ၵႆႇ (ไก่), ภาษาไทใต้คง ᥐᥭᥱ (กั่ย), ภาษาอ่ายตน ကႝ (กย์), ภาษาพ่าเก ကႝ (กย์), ภาษาอาหม 𑜀𑜩 (กย์), ภาษาปู้อี gais (ไก๋), ภาษาจ้วง gaeq (ไก๊), ภาษาแสก ไก; เทียบภาษาเบดั้งเดิม *kajᴬ¹

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์ไก่
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงgài
ราชบัณฑิตยสภาkai
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/kaj˨˩/(สัมผัส)
ไฟล์เสียง

คำนาม

แก้ไข

ไก่ (คำลักษณนาม ตัว)

  1. สัตว์ปีกจำพวกนก มีหลายวงศ์ บินได้ในระยะสั้น หากินตามพื้นดิน ตกไข่ก่อนแล้วจึงฟักเป็นตัว ตัวผู้หงอนใหญ่และเดือยยาว
    ไก่สองตัวอยู่บนต้นไม้
    ลุงเลี้ยงไก่หลายตัว
    ฝูงไก่กำลังจิกกินเมล็ดข้าวบนพื้นดิน
  2. (ภาษาปาก, สแลง) ผู้หญิงหากิน[1]
    แถวนี้มีไก่คอยหาแขกอยู่มาก
  3. (ภาษาปาก, สแลง) ผู้หญิงที่ถูกล่อลวงมาเพื่อมีเพศสัมพันธ์ด้วย[1]
    แน่ใจนะว่าพาผู้หญิงคนนี้มาทำงาน ไม่ใช่ไปจับไก่มา
  4. (ภาษาปาก, สแลง) ผู้หญิงที่มีท่าทางหรือลักษณะการแต่งตัวที่เชิญชวนให้ผู้ชายต้องการมีเพศสัมพันธ์ด้วย[2]
    ผู้หญิงคนนี้ท่าทางไก่จังเลย
  5. (ภาษาปาก, สแลง, ขำขัน) อ่อนด้อย (คำตรงข้าม : ตัวตึง)
    วันนี้เจอตี้ไก่

คำพ้องความ

แก้ไข

คำเกี่ยวข้อง

แก้ไข

คำแปลภาษาอื่น

แก้ไข

อ้างอิง

แก้ไข
  1. 1.0 1.1 ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 161.
  2. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมคำใหม่ เล่ม 1 ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ธนาเพรส, 2553. หน้า 19.

ภาษาคำเมือง

แก้ไข

คำนาม

แก้ไข

ไก่

  1. อีกรูปหนึ่งของ ᨠᩱ᩵ (ไก่)

ภาษาแสก

แก้ไข

คำกริยา

แก้ไข

ไก่

  1. อย่า