ดูเพิ่ม: ฟก และ ฟูก

ภาษาไทย

แก้ไข

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์ฟัก
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงfák
ราชบัณฑิตยสภาfak
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/fak̚˦˥/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1

แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *wakᴰ (ฟัก (พืช)); ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ຟັກ (ฟัก)

คำนาม

แก้ไข

ฟัก

  1. ชื่อไม้เถาชนิดหนึ่ง ผลใหญ่ กลมรี เมื่อแก่ผิวแข็งขึ้นนวล กินได้ มีหลายพันธุ์ ต่างกันที่ลักษณะของผล, พืชที่อยู่ในวงศ์ Cucurbitaceae
การใช้
แก้ไข

ฟักพันธุ์ที่มีผลเล็ก ผิวบางมีขน เรียกว่า แฟง ส่วนฟักพันธุ์ที่มีรสขม ใช้ทำยาได้ เรียกว่า ฟักขม

รากศัพท์ 2

แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *wakᴰ (กกไข่); ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ຟັກ (ฟัก), ภาษาจ้วง faeg

คำกริยา

แก้ไข

ฟัก (คำอาการนาม การฟัก)

  1. กกไข่ให้เป็นตัว, ทำให้ไข่อบอุ่นเพื่อให้เป็นตัว

ภาษาอีสาน

แก้ไข

รากศัพท์

แก้ไข

ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ຟັກ (ฟัก), ภาษาคำเมือง ᨼᩢ᩠ᨠ (ฟัก), ภาษาเขิน ᨼᩢ᩠ᨠ (ฟัก), ภาษาไทลื้อ ᦝᧅ (ฟัก), ภาษาไทใหญ่ ၽၵ်ႉ (ผั๎ก) หรือ ၾၵ်ႉ (ฝั๎ก)

คำกริยา

แก้ไข

ฟัก (คำอาการนาม การฟัก)

  1. (สกรรม) สับ