ภาษาไทย

แก้ไข

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์จี่
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงjìi
ราชบัณฑิตยสภาchi
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/t͡ɕiː˨˩/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1

แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม *ciːᴮ¹; ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨧᩦ᩵ (จี่), ภาษาเขิน ᨧᩦ᩵ (จี่), ภาษาอีสาน จี่, ภาษาลาว ຈີ່ (จี่), ภาษาไทลื้อ ᦈᦲᧈ (จี่), ภาษาไทใหญ่ ၸီႇ (จี่), ภาษาไทใต้คง ᥓᥤᥱ (จี่), ภาษาอาหม 𑜋𑜣 (ฉี), ภาษาจ้วงแบบหนง jiq

คำกริยา

แก้ไข

จี่ (คำอาการนาม การจี่)

  1. (ล้าสมัย) เผา, ใช้เข้าคู่กับคำ เผา เป็น เผาจี่
    จี่กะปิ
    จี่พริก
  2. โดยปริยายหมายความว่า ทอดในกระทะที่ทาน้ำมันน้อย
    แป้งจี่

รากศัพท์ 2

แก้ไข

คำนาม

แก้ไข

จี่

  1. ชื่อแมลงพวกด้วงปีกแข็งในวงศ์ Copridae อาศัยอยู่ตามมูลสัตว์ ส่วนใหญ่ตัวขนาดกลาง ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1 เซนติเมตร หัวแบน ขาแบน ด้านข้างมีลักษณะเป็นหนามคล้ายฟันเลื่อย สีดำตลอด ปั้นมูลสัตว์ให้เป็นก้อนเพื่อวางไข่ ให้ลูกได้อาศัยอยู่ภายใน เมื่อถูกต้องตัวมักทำเสียงร้องดังฉู่ฉี่
คำพ้องความ
แก้ไข
  1. ตัวฉู่ฉี่, ด้วงจู้จี้

ภาษาคำเมือง

แก้ไข

การออกเสียง

แก้ไข

คำกริยา

แก้ไข

จี่ (คำอาการนาม ก๋ารจี่ หรือ ก๋านจี่)

  1. (สกรรม) อีกรูปหนึ่งของ ᨧᩦ᩵ (จี่)

ภาษาอีสาน

แก้ไข

รากศัพท์

แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม *ciːᴮ¹; ร่วมเชื้อสายกับภาษาไทย จี่, ภาษาคำเมือง ᨧᩦ᩵ (จี่), ภาษาเขิน ᨧᩦ᩵ (จี่), ภาษาลาว ຈີ່ (จี่), ภาษาไทลื้อ ᦈᦲᧈ (จี่), ภาษาไทใหญ่ ၸီႇ (จี่), ภาษาไทใต้คง ᥓᥤᥱ (จี่), ภาษาอาหม 𑜋𑜣 (ฉี), ภาษาจ้วงแบบหนง jiq

การออกเสียง

แก้ไข

คำกริยา

แก้ไข

จี่ (คำอาการนาม การจี่)

  1. เผา, ย่างบนเปลวไฟ