ภาษาไทย แก้ไข

การออกเสียง แก้ไข

การแบ่งพยางค์จี้
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงjîi
ราชบัณฑิตยสภาchi
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/t͡ɕiː˥˩/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1 แก้ไข

ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ຈີ້ (จี้)

คำนาม แก้ไข

จี้

  1. เครื่องประดับมีรูปเหลี่ยม กลม หรือรี มักทำด้วยทองคำประดับเพชรพลอยเป็นต้น มีห่วงที่กรอบสำหรับห้อยคอ

รากศัพท์ 2 แก้ไข

เทียบภาษาจีนยุคกลาง (MC tshjeH, “หนาม”); ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᨧᩦ᩶ (จี้), ภาษาเขิน ᨧᩦ᩶ (จี้), ภาษาลาว ຈີ້ (จี้), ภาษาไทลื้อ ᦈᦲᧉ (จี้), ภาษาไทใหญ่ ၸီႈ (จี้)

คำกริยา แก้ไข

จี้ (คำอาการนาม การจี้)

  1. เอานิ้วมือหรือสิ่งของจดหรือแหย่เข้าไป
  2. เอามือแหย่ให้รู้ตัวหรือให้สะดุ้ง
    จี้เอว
  3. ติดตามอย่างกระชั้นชิด
    วิ่งจี้หลังมา
  4. (ภาษาปาก) ใช้อาวุธขู่เข็ญบังคับให้ทำตาม
    จี้ชิงทรัพย์
  5. (ภาษาปาก) เข้มงวด, กวดขัน, เร่งเร้า, ติดตามเร่งรัด
    จี้ให้ทำงาน

คำคุณศัพท์ แก้ไข

จี้ (คำอาการนาม ความจี้)

  1. (ภาษาปาก, สแลง) ตลกขบขัน
    เรื่องนี้จี้มาก
ดูเพิ่ม แก้ไข

รากศัพท์ 3 แก้ไข

คำนาม แก้ไข

จี้

  1. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเหนียวผสมแป้งข้าวเจ้านวดกับกะทิแล้วนึ่งให้สุก ปั้นเป็นก้อนกลมแบน หุ้มไส้ที่ทำด้วยน้ำตาลทรายเคี่ยวจนเหนียวผสมงาคั่ว แล้วคลุกนวลแป้งข้าวเจ้าที่คั่วสุก

รากศัพท์ 4 แก้ไข

ยืมมาจากภาษาคำเมือง [Term?]

คำนาม แก้ไข

จี้

  1. คนทา, ชื่อไม้พุ่ม