ภาษาสันสกฤต แก้ไข

รากศัพท์ แก้ไข

เป็นนามตัวแทน (นามใช้แทนบุคคลหรือสิ่งของอันกระทำกริยานั้น) ตามที่ปรากฏในอุณาทิสูตร 4, 144 ประกอบจากธาตุกริยา कृ (กฺฤ, ทำ, กระทำ, แสดง เป็นต้น) +‎ -मन् (-มนฺ) ซึ่งมีรากจากภาษาอินโด-ยูโรเปียนดั้งเดิม *kʷer- (ทำ)

คำนาม แก้ไข

कर्मन् (กรฺมนฺก.

  1. การทำ, การกระทำ, การแสดง
    "ฤคเวท: มัณฑละ 1 สูกตะ 31 มันตระ 8"
    तवं नो अग्ने सनये धनानां यशसं कारुं कर्णुहि सतवानः |
    रध्याम कर्मापसा नवेन देवैर्द्यावाप्र्थिवी परावतं नः ||
    ตวํ โน อคฺเน สนเย ธนานาํ ยศสํ การุํ กรฺณุหิ สตวานห์ |
    รธฺยาม กรฺมาปสา นเวน เทไวรฺทฺยาวาปฺรฺถิวี ปราวตํ นห์ ||
    (ต้องการแปลไทย) O Agni, highly lauded, make our singer famous that he may win us store of riches:
    May we improve the rite with new performance. O Earth and Heaven, with all the Gods, protect us.
  2. หน้าที่, ตำแหน่ง, อาชีพ, ธุระ, กิจ; ปกติใช้ต่อท้ายคำดังนี้
    1. บุคคลที่กระทำกิจนั้น
      वणिक्कर्मन्วณิกฺกรฺมนฺธุระของพ่อค้า, งานของพ่อค้า (การค้าขาย)
      राजकर्मन्ราชกรฺมนฺกิจของพระราชา
    2. บุคคลหรือสิ่งซึ่งถูกกระทำด้วยกิจนั้น
      पशुकर्मन्ปศุกรฺมนฺการถวายเครื่องสังเวย
    3. ชี้เฉพาะเจาะจงในการกระทำนั้น (ปรากฏใน ศตปถ พราหมณะ, มนูธรรมศาสตร์, ภรฺตฺฤหริ เป็นต้น)
      शौर्यकर्मन्เศารฺยกรฺมนฺการกระทำที่กล้าหาญ
      प्रीतिकर्मन्ปฺรีติกรฺมนฺการกระทำที่เป็นมิตรหรือด้วยความรัก
  3. พิธีกรรมทางศาสนา (ดังเช่น การสังเวย การบวงสรวง เป็นต้น) (ปรากฏใน ฤคเวท, อาถรรพเวท, วาชสเนยิสังหิตา, รฆุวังศ เป็นต้น)
  4. การทำงาน, กิจกรรม (ตรงข้ามกับการพัก, प्रशान्ति (ปฺรศานฺติ)) (ปรากฏใน หิโตปเทศห์, ฤคเวทปราติศาขยะ เป็นต้น)
  5. การรักษาด้วยยา, การรักษาทางแพทย์ (ปรากฏใน ชานัคยา)
  6. การกระทำประกอบด้วยการเคลื่อนไหว ตามปรัชญานยายะอยู่ในลำดับที่สามจากทั้งหมดเจ็ดอย่าง ซึ่งการเคลื่อนไหวดังกล่าวแบ่งออกเป็น 5 อย่าง ได้แก่ उत्क्षेपण (อุตฺกฺเษปณ), अवक्षेपण (อวกฺเษปณ), आकुञ्चन (อากุญฺจน), प्रसारण (ปฺรสารณ) และ गमन (คมน) (ปรากฏใน ภาษาปริจฺเฉท, ตรฺกสังคฺรห)
  7. การคำนวณ (ปรากฏใน สูรฺยสิทฺธานฺต)
  8. ผล, ผลลัพธ์, ผลผลิต, ผลกระทบ (ปรากฏใน มนูธรรมศาสตร์, สุศฺรุต 98)
  9. อวัยวะรับความรู้สึกหรือใช้เคลื่อนไหว (ปรากฏใน ศตปถ พราหมณะ)
    कर्मेन्द्रियกรฺเมนฺทฺริยอวัยวะรับความรู้สึก
  10. (ไวยากรณ์) กรรมซึ่งอยู่ในตำแหน่งกรรมการก (ในประโยคกรรตุวาจก) หรือตำแหน่งกรรตุการก (ในประโยคกรรมวาจก) หรือตำแหน่งสัมพันธการก (เมื่อเชื่อมกับนามอื่น); ตรงข้ามกับ "ประธาน" कर्तृ (กรฺตฺฤ) (ปรากฏใน ปาณินิ 1-4, 49 เป็นต้นไป) ซึ่งแบ่งเป็น 4 ประเภท (กรรมเน้นตัวหนา) ได้แก่
    1. निर्वर्त्य (นิรฺวรฺตฺย) กับสิ่งที่มีขึ้นหรือเกิดใหม่
      कटं करोतिกฏํ กโรติเขาทำเสื่อ
      पुत्रं प्रसूतेปุตฺรํ ปฺรสูเตหล่อนให้กำเนิดบุตร
    2. विकार्य (วิการฺย) กับสิ่งที่เปลี่ยนเป็นสารและรูปอื่นหรือเปลี่ยนเฉพาะรูป
      काष्ठं भस्म करोतिกาษฺฐํ ภสฺม กโรติเขาทำเชื้อไฟให้เป็นเถ้า
      सुवर्णं कुण्डलं करोतिสุวรฺณํ กุณฺฑลํ กโรติเขาทำทองให้เป็นต่างหู
    3. प्राप्य (ปฺราปฺย) เมื่อบรรลุสิ่งที่ปรารถนา
      ग्रामं गच्च्हतिคฺรามํ คจฺจฺหติเขาไปยังหมู่บ้าน
      चन्द्रं पश्यतिจนฺทฺรํ ปศฺยติเขามองดวงจันทร์
    4. अनीप्सित (อนีปฺสิต) เมื่อละทิ้งสิ่งที่ไม่ปรารถนา
      पापं त्यजतिปาปํ ตฺยชติเขาละทิ้งความชั่ว
  11. กรรม; การกระทำในอดีตซึ่งส่งผลมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้, ชะตา (ดังเช่นผลจากการกระทำในชาติที่แล้ว) (ปรากฏใน ปัญจตันตระ, หิโตปเทศห์, วรรณกรรมพุทธศาสนา)
    कर्मपाकกรฺมปากผลแห่งการกระทำอันทำไว้แต่อดีต
    कर्मविपाकกรฺมวิปากกรรมวิบาก, ผลแห่งกรรมดีกรรมชั่วอันทำไว้แต่อดีต
  12. จักรราศีที่สิบทางจันทรคติ (ปรากฏใน พฺฤหัตสังหิตาของวราหะมิหิระ เป็นต้น)

การผัน แก้ไข

คำสืบทอด แก้ไข

อ้างอิง แก้ไข

  • Sir Monier Monier-Williams (1898) A Sanskrit-English dictionary etymologically and philologically arranged with special reference to cognate Indo-European languages, ออกซฟอร์ด: Clarendon Press, หน้า 258