ดูเพิ่ม: สาลิ, สาลี, และ สาลี่

ภาษาไทย แก้ไข

การออกเสียง แก้ไข

การแบ่งพยางค์สำ-ลี
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงsǎm-lii
ราชบัณฑิตยสภาsam-li
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/sam˩˩˦.liː˧/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1 แก้ไข

ยืมมาจากภาษาเขมร សម្លី (สมฺลี), จากภาษาสันสกฤต शाल्मलि (ศาลฺมลิ) หรือ शल्मलि (ศลฺมลิ, ฝ้าย, นุ่น, สำลี)[1]

คำนาม แก้ไข

สำลี

  1. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Gossypium barbadense L. var. acuminatum (Roxb. ex G. Don) Triana et Planch. ในวงศ์ Malvaceae เมล็ดมีปุยขาวใช้ทอผ้าได้
  2. ชื่อเรียกปุยของเมล็ดฝ้ายหรือเมล็ดสำลี
  3. อ้อยสำลี
  4. ชื่อเรียกปุยฝ้ายที่นำมาฟอกให้ขาวปราศจากไขมันและสิ่งแปลกปลอมอื่นเพื่อใช้ในทางการแพทย์เป็นต้น
  5. เรียกผ้าชนิดหนึ่ง มีขน เนื้อนุ่ม มักใช้ห่มหรือตัดเสื้อกันหนาว

รากศัพท์ 2 แก้ไข

 
วิกิพีเดียมีบทความเกี่ยวกับ:
Wikipedia

คำนาม แก้ไข

สำลี (คำลักษณนาม ตัว)

  1. (ปลา~) ชื่อปลาทะเลในสกุล Seriolina และ Seriola วงศ์ Carangidae โดยเฉพาะชนิด Seriolina nigrofasciata (Rüppell) ซึ่งมีลำตัวค่อนข้างกลมยาว หัวทู่ ครีบหลังตอนหน้าเล็ก ก้านครีบสั้น เกล็ดเล็กมาก เกล็ดตามแนวเส้นข้างตัวไม่เป็นหนามแต่ยกเป็นสันนูนเล็ก ๆ เฉพาะบริเวณคอดหาง และไม่มีกระดูกหนามแข็งโผล่อยู่หน้าครีบก้น หัวและลำตัวตลอดจนครีบต่าง ๆ มีสีเทาเข้มจนถึงดำ ท้องสีขาวหรือเทา ปลาขนาดเล็กมีแถบหรือแต้มสีที่เข้มกว่า 5-7 แนว พาดทแยงลงด้านหน้าจากแนวสันหลังและจางลงเมื่อปลามีขนาดโตขึ้น ก้านครีบและกระดูกของปลาชนิดนี้ค่อนข้างอ่อน ขนาดยาวได้ถึง 70 เซนติเมตร

อ้างอิง แก้ไข