แขก
ภาษาไทย
แก้ไขการออกเสียง
แก้ไขการแบ่งพยางค์ | แขก | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | kɛ̀ɛk |
ราชบัณฑิตยสภา | khaek | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /kʰɛːk̚˨˩/(สัมผัส) |
รากศัพท์ 1
แก้ไขยืมมาจากจีนยุคกลาง 客 (MC khaek); ร่วมเชื้อสายกับคำเมือง ᨡᩯ᩠ᨠ (แขก), ลาว ແຂກ (แขก), ไทลื้อ ᦶᦃᧅᧈ (แฃ่ก), ไทดำ ꪵꪄꪀ (แฃก), ไทใหญ่ ၶႅၵ်ႇ (แข่ก), ไทใต้คง ᥑᥦᥐᥱ (แฃ่ก), พ่าเก ၵိက် (ขิก์), อาหม 𑜁𑜢𑜀𑜫 (ขิก์), จ้วง hek; ร่วมรากกับ แคะ (“ชาวจีนพวกหนึ่ง”)
คำนาม
แก้ไข- ผู้มาหา, ผู้มาแต่อื่น, ผู้ที่มาร่วมงานพิธีของเจ้าภาพ
- งานเลี้ยงคืนนี้มีแขกเยอะนะ
- คนบ้านอื่นที่มาช่วยทำงาน
- ลูกค้าที่มาใช้บริการในร้านเสริมสวย ร้านอาหาร สถานบันเทิง โรงแรม เป็นต้น[1]
- ร้านอาหารนี้บริการดี จึงมีแขกเต็มร้านเสมอ
ลูกคำ
แก้ไขคำแปลภาษาอื่น
แก้ไขลูกค้า — ให้ดูที่ ลูกค้า
รากศัพท์ 2
แก้ไขพัฒนาจากความหมายแรก พบว่ามีการใช้งานเป็นคำบ่งบอกชาติพันธุ์อย่างน้อยตั้งแต่ต้นพุทธศตวรรษที่ 21 (แม้จะมีความหมายกำกวม) ในกฎมณเฑียรบาลสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ[2]
คำนาม
แก้ไขแขก
- คำเรียกชาวอินเดีย ศรีลังกา ปากีสถาน บังกลาเทศ อัฟกานิสถาน เนปาล ชวา มลายู ชาวเอเชียตะวันออกกลางและตะวันออกใกล้
- ชื่อเพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า แขก
- แขกสาหร่าย
- แขกบรเทศ
- แขกกุลิต
ลูกคำ
แก้ไขอ้างอิง
แก้ไข- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมคำใหม่ เล่ม 1 ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ธนาเพรส, 2553. หน้า 25-26.
- ↑ Smith, John (2019) State, Community, and Ethnicity in Early Modern Thailand, 1351-1767[1], University of Michigan, page 187