ภาษาไทย แก้ไข

รากศัพท์ แก้ไข

ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᩉ᩠ᨾᩬᨷ (หมอบ), ภาษาอีสาน หมอบ หรือ หมูบ, ภาษาลาว ໝອບ (หมอบ) หรือ ໝູບ (หมูบ), ภาษาไทลื้อ ᦷᦙᧇ (โมบ), ภาษาเขิน ᩉ᩠ᨾᩬᨷ (หมอบ) หรือ ᩉ᩠ᨾᩪᨷ (หมูบ), ภาษาไทใหญ่ မွပ်ႇ (ม่อ̂ป)

การออกเสียง แก้ไข

การแบ่งพยางค์หฺมอบ
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงmɔ̀ɔp
ราชบัณฑิตยสภาmop
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/mɔːp̚˨˩/(สัมผัส)

คำกริยา แก้ไข

หมอบ (คำอาการนาม การหมอบ)

  1. กิริยาที่คู้เข่าลงและยอบตัวให้ท่อนแขนส่วนล่างราบอยู่กับพื้น, ยอบตัวลงในอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น
  2. (ภาษาปาก) สิ้นเรี่ยวสิ้นแรง, ลุกไม่ขึ้น, หมดแรง, ล้มป่วย
    ถูกตีเสียหมอบ
    เป็นไข้เสียหมอบ
    เขาทำงานหนักติดต่อกันหลายวัน พอเสร็จงานก็หมอบ
  3. (ภาษาปาก) สะบักสะบอม
    เขาถูกอันธพาลรุมเสียหมอบ
  4. (ภาษาปาก) ไม่สู้ต่อ, ยอมแพ้
  5. (เกมไพ่) คว่ำหน้าไพ่ลงบนโต๊ะ

อ้างอิง แก้ไข

ภาษาอีสาน แก้ไข

รูปแบบอื่น แก้ไข

รากศัพท์ แก้ไข

ร่วมเชื้อสายกับภาษาไทย หมอบ, ภาษาคำเมือง ᩉ᩠ᨾᩬᨷ (หมอบ), ภาษาลาว ໝອບ (หมอบ) หรือ ໝູບ (หมูบ), ภาษาไทลื้อ ᦷᦙᧇ (โมบ), ภาษาเขิน ᩉ᩠ᨾᩬᨷ (หมอบ) หรือ ᩉ᩠ᨾᩪᨷ (หมูบ), ภาษาไทใหญ่ မွပ်ႇ (ม่อ̂ป)

คำกริยา แก้ไข

หมอบ (คำอาการนาม การหมอบ)

  1. หมอบ