ภาษาไทย

แก้ไข

รากศัพท์

แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม *lɔːjᴬ⁴, จากภาษาไทดั้งเดิม *loːjᴬ (ว่ายน้ำ); ร่วมเชื้อสายกับภาษาคำเมือง ᩃᩬ᩠ᨿ (ลอย), ภาษาเขิน ᩃᩭ (ลอย), ภาษาอีสาน ลอย, ภาษาลาว ລອຍ (ลอย), ภาษาไทลื้อ ᦟᦾ (ลอ̂ย), ภาษาไทใหญ่ လွႆး (ล๊อ̂ย), ภาษาพ่าเก လွႝ (ลอ̂ย์), ภาษาอาหม 𑜎𑜨𑜐𑜫 (ลอ̂ญ์) และ 𑜃𑜨𑜩 (นอ̂ย์)

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์ลอย
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงlɔɔi
ราชบัณฑิตยสภาloi
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/lɔːj˧/(สัมผัส)

คำกริยา

แก้ไข

ลอย (คำอาการนาม การลอย)

  1. ทรงตัวอยู่ในอากาศ
    บัลลูนลอย
    ว่าวลอย
  2. เด่นขึ้น, นูนขึ้น
    รูปปลาที่วาดบนพัดมองเหมือนลอยออกมา
  3. ไม่อยู่เป็นหลักแหล่ง, ไม่มีตำแหน่งหรือหน้าที่การงานเป็นหลักแหล่ง
    เป็นพ่อพวงมาลัยลอยไปลอยมา
  4. ไม่จม
    เรือลอย
    ซุงลอย
  5. อยู่บนผิวน้ำ
    จอกแหนลอย
  6. ปล่อยให้ไปตามน้ำหรืออากาศ
    ลอยกระทง
    ปล่อยลูกโป่งให้ลอยในพิธีเปิดงาน

คำคุณศัพท์

แก้ไข

ลอย

  1. ไม่มีอะไรคุ้มหรือผูกไว้ (ใช้ในการเล่นหมากรุก)
    โคนลอย
    ม้าลอย

ภาษาญัฮกุร

แก้ไข

การออกเสียง

แก้ไข

คำกริยา

แก้ไข

ลอย

  1. ลอย (บนน้ำ)

ภาษาอีสาน

แก้ไข

รากศัพท์

แก้ไข

สืบทอดจากภาษาไทดั้งเดิม *loːjᴬ (ว่ายน้ำ); ร่วมเชื้อสายกับภาษาไทย ลอย, ภาษาคำเมือง ᩃᩬ᩠ᨿ (ลอย), ภาษาลาว ລອຍ (ลอย), ภาษาไทลื้อ ᦟᦾ (ลอ̂ย), ภาษาเขิน ᩃᩭ (ลอย), ภาษาไทใหญ่ လွႆး (ล๊อ̂ย), ภาษาอาหม 𑜎𑜨𑜐𑜫 (ลอ̂ญ์) และ 𑜃𑜨𑜩 (นอ̂ย์)

คำกริยา

แก้ไข

ลอย (คำอาการนาม การลอย)

  1. ว่าย (น้ำ)