ดูเพิ่ม: จาง, จ่าง, และ จ๊าง

ภาษาไทย แก้ไข

การออกเสียง แก้ไข

การแบ่งพยางค์จ้าง
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงjâang
ราชบัณฑิตยสภาchang
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/t͡ɕaːŋ˥˩/(สัมผัส)

รากศัพท์ 1 แก้ไข

ยืมมาจากฮกเกี้ยน (chàng)[1]

คำนาม แก้ไข

จ้าง

  1. (ขนม~) ชื่อขนมของจีนชนิดหนึ่ง ทำด้วยข้าวเหนียวที่แช่น้ำด่างแล้วล้างให้สะอาด นำมาผึ่งให้สะเด็ดน้ำ ห่อด้วยใบไผ่แล้วต้มให้สุก
ดูเพิ่ม แก้ไข

รากศัพท์ 2 แก้ไข

ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ຈ້າງ (จ้าง), ภาษาไทดำ ꪊ꫁ꪱꪉ (จ้าง), ภาษาไทใหญ่ ၸၢင်ႈ (จ้าง), ภาษาไทใต้คง ᥓᥣᥒᥲ (จ้าง)

คำกริยา แก้ไข

จ้าง (คำอาการนาม การจ้าง)

  1. (สกรรม) ให้ทำงานหรือทำของโดยให้ค่าตอบแทน
การใช้ แก้ไข

ผู้ให้ทำงานเรียก นายจ้าง หรือ ผู้ว่าจ้าง, ผู้รับทำงานเรียก ลูกจ้าง หรือ ผู้รับจ้าง, ผู้ให้ทำของเรียก ผู้ว่าจ้าง, ผู้รับทำของเรียก ผู้รับจ้าง

อ้างอิง แก้ไข

ภาษาคำเมือง แก้ไข

คำนาม แก้ไข

จ้าง

  1. อีกรูปหนึ่งของ ᨩ᩵ᩣ᩠ᨦ (ช่าง)

คำกริยาวิเศษณ์ แก้ไข

จ้าง (คำอาการนาม กำจ้าง หรือ ความจ้าง)

  1. อีกรูปหนึ่งของ ᨩ᩵ᩣ᩠ᨦ (ช่าง)

คำกริยา แก้ไข

จ้าง (คำอาการนาม ก๋ารจ้าง หรือ ก๋านจ้าง)

  1. (สกรรม) อีกรูปหนึ่งของ ᨧ᩶ᩣ᩠ᨦ (จ้าง)