ดูเพิ่ม: บ̱ิญ และ บีญ

ภาษาไทย แก้ไข

รูปแบบอื่น แก้ไข

  • (เลิกใช้, ยกเว้นชื่อเฉพาะ) บุญญ์

รากศัพท์ แก้ไข

ยืมมาจากภาษาบาลี ปุญฺญ (คุณธรรม, คุณความดี, การกระทำที่มีคุณความดี); เทียบภาษาสันสกฤต पुण्य (ปุณฺย, ความดี, คุณธรรม); ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ບຸນ (บุน), ภาษาไทลื้อ ᦢᦳᧃ (บุน), ภาษาเขมร បុញ្ញ (บุญฺญ), ภาษาพม่า ပုည (ปุญ)

การออกเสียง แก้ไข

การแบ่งพยางค์บุน[เสียงสมาส]
บุน-ยะ-
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงbunbun-yá-
ราชบัณฑิตยสภาbunbun-ya-
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/bun˧/(สัมผัส)/bun˧.ja˦˥./

คำนาม แก้ไข

บุญ

  1. ความสุข
    หน้าตาอิ่มบุญ
  2. (ศาสนาพุทธ) การกระทำดีตามหลักคำสอน
    ไปทำบุญที่วัด
  3. ความดี, คุณงามความดี
    ปล่อยนกปล่อยปลาเอาบุญ
    เขาทำบุญช่วยเหลือคนตกทุกข์ได้ยาก
  4. ผลของการทำความดีจากชาติปางก่อน
    เขามีบุญจึงเกิดมาบนกองเงินกองทอง

คำคุณศัพท์ แก้ไข

บุญ

  1. ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น ในคำว่า ใจบุญ

การใช้ แก้ไข

เมื่อ บุญ- เติมหน้าคำ อ-/อา- จะเปลี่ยนรูปเป็น บุญญ-

คำประสม แก้ไข