เสีย
ภาษาไทย
แก้ไขการออกเสียง
แก้ไขการแบ่งพยางค์ | เสีย | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | sǐia |
ราชบัณฑิตยสภา | sia | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /sia̯˩˩˦/(สัมผัส) |
รากศัพท์ 1
แก้ไขสืบทอดจากภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ดั้งเดิม *siəᴬ¹; ร่วมเชื้อสายกับภาษาอีสาน เสีย, ภาษาลาว ເສຍ (เสย), ภาษาคำเมือง ᩈ᩠ᨿᩮ (สเย), ภาษาเขิน ᩈ᩠ᨿᩮ (สเย), ภาษาไทลื้อ ᦵᦉ (เส), ภาษาไทดำ ꪎꪸ (สย̂), ภาษาไทใหญ่ သေ (เส), ภาษาไทใต้คง ᥔᥥᥴ (เส๋), ภาษาพ่าเก ꩬေ (เส), ภาษาอาหม 𑜏𑜦𑜧 (เส)
คำกริยา
แก้ไขเสีย (คำอาการนาม การเสีย)
- เสื่อมลงไป, ทำให้เลวลงไป
- ผลของการทำชั่วอาจทำให้เสียเกียรติทั้งตนเองและครอบครัว
- อย่าทำให้บริษัทของเราเสียชื่อก็แล้วกัน
- ทำตัวอย่างนี้เสียศักดิ์ศรีลูกผู้ชายหมด
- สูญไป, หมดไป, สิ้นไป
- อุบัติเหตุในครั้งนั้นทำให้เขาเสียแขน'ไปข้างหนึ่ง แต่ยังโชคดีที่ไม่ถึงกับเสียชีวิต
- การพนันอาจทำให้เสียทรัพย์ไปอย่างรวดเร็ว
- ชำรุด
- ถนนในหมู่บ้านเสียนานแล้ว ทางการยังไม่มาซ่อมแซมเลย
- ใช้ไม่ได้
- น้ำท่วมครั้งนี้ทำเอาเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเสียหมดทุกอย่าง
- เมื่อตะกี้เจอรถเสียกลางทาง ก็เลยต้องลงไปช่วย
- ยับเยิน, ย่อยยับ
- ปีนี้ฝนแล้งจัดเรือกสวนไร่นาเสียหมด
- บูด
- แกงหม้อนี้เสียหมดทั้งหม้อ
- เน่า
- ผลไม้เข่งนี้เสียแล้ว
- ไม่ดี
- ราขึ้น ขนมปังจึงเสียหมดทั้งแถว
- เธอดัดผมบ่อยเกินไป ทำให้ผมเสีย
- จ่ายเงิน, ชำระเงิน
- การเสียภาษีเป็นหน้าที่ของท่าน
- พี่สาวออกไปเสียค่าโทรศัพท์ที่องค์การฯ
- หมดทรัพย์สินไปเพราะการพนัน
- ตาย (ใช้แก่คนทั่วไป)
- เขาเสียไปหลายปีแล้ว
- (โบราณ) ทิ้ง
- ที่ขวากหนามอย่าเสียเกือก- จาก สุภาษิตพระร่วง
- เสียไฟเป่าหิ่งห้อย- จาก ลิลิตพระลอ
คำพ้องความ
แก้ไข- (5) เสียหาย
คำเกี่ยวข้อง
แก้ไข- เสียกบาล
- เสียกระบวน
- เสียกล
- เสียการ
- เสียการเสียงาน
- เสียกำซ้ำกอบ, เสียกำแล้วซ้ำกอบ
- เสียกำได้กอบ, เสียกำแล้วได้กอบ
- เสียกำลังใจ
- เสียกิริยา
- เสียขวง
- เสียขวัญ
- เสียคน
- เสียคำพูด
- เสียงาน
- เสียงานเสียการ
- เสียจริต
- เสียใจ
- เสียโฉม
- เสียชาติเกิด
- เสียชีพ, เสียชีวิต
- เสียชื่อ
- เสียเช่น
- เสียเชิง
- เสียเชิงชาย
- เสียดาย
- เสียเด็ก
- เสียตัว
- เสียตา
- เสียตีน
- เสียแต่, เสียที่
- เสียแต้ม
- เสียทองเท่าหัวไม่ยอมเสียผัวให้ใคร
- เสียท่า
- เสียที
- เสียเที่ยว
- เสียธรรมเนียม
- เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย
- เสียน้ำใจ
- เสียน้ำตา
- เสียนิสัย
- เสียเนื้อเสียตัว
- เสียบน
- เสียปาก
- เสียเปรียบ
- เสียเปล่า
- เสียผี
- เสียผู้ใหญ่
- เสียแผน
- เสียพรหมจรรย์
- เสียพรหมจารี
- เสียเพศ
- เสียภูมิ
- เสียมารยาท
- เสียมือ
- เสียมือเสียตีน, เสียมือเสียเท้า
- เสียยุบเสียยับ
- เสียรอย
- เสียรังวัด
- เสียราศี
- เสียรำคาญ
- เสียรู้
- เสียรูป
- เสียรูปคดี
- เสียรูปทรง, เสียรูปเสียทรง
- เสียแรง
- เสียฤกษ์
- เสียเลือดเนื้อ, เสียเลือดเสียเนื้อ
- เสียเวลา
- เสียศูนย์
- เสียเศวตฉัตร
- เสียสติ
- เสียสมอง
- เสียสละ
- เสียสัตย์
- เสียสันดาน
- เสียสายตา
- เสียสาว
- เสียเส้น
- เสียหน้า
- เสียหลัก
- เสียหลาย
- เสียหัว
- เสียหาย
- เสียหู
- เสียหูเสียตา
- เสียเหลี่ยม
- เสียเหลี่ยมเสียคม
- เสียอารมณ์
คำคุณศัพท์
แก้ไขเสีย (คำอาการนาม ความเสีย)
- ที่ไม่ดี
- เด็กอะไรนิสัยเสียมาก
- น้ำในคลองหลังบ้านเป็นน้ำเสีย อย่าให้เด็ก ๆ ลงไปเล่นกันล่ะ
- พิการ
- การมองดวงอาทิตย์โดยตรงเป็นเวลานาน อาจทำให้ตาเสียได้
- บูด
- อย่ากินแกงเสีย จะปวดท้อง
รากศัพท์ 2
แก้ไขร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ເສຍ (เสย), ภาษาไทลื้อ ᦵᦉ (เส), ภาษาไทใหญ่ သေ (เส)
คำอนุภาค
แก้ไขเสีย
- เน้นความหมายหรือให้เสร็จไป (ประกอบท้ายกริยาหรือวิเศษณ์)
- กินเสีย
- มัวไปช้าเสีย
คำเกี่ยวข้อง
แก้ไขภาษาอีสาน
แก้ไขคำกริยา
แก้ไขเสีย (คำอาการนาม การเสีย)