ดูเพิ่ม: พ่าน

ภาษาไทย

แก้ไข
 
พาน (ภาชนะ)

การออกเสียง

แก้ไข
การแบ่งพยางค์พาน
การแผลงเป็น
อักษรโรมัน
ไพบูลย์พับบลิชชิงpaan
ราชบัณฑิตยสภาphan
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย)/pʰaːn˧/(สัมผัส)
คำพ้องเสียง

รากศัพท์ 1

แก้ไข

ยืมมาจากภาษาจีนเก่า (OC *baːn, “ถาด”); ร่วมเชื้อสายกับภาษาลาว ພານ (พาน), ภาษาไทดำ ꪝꪱꪙ (ป̱าน) หรือ ꪟꪱꪙ (พาน), ภาษาพม่า ဗန်း (พน์:, ถาด), ภาษาไทใหญ่ ပၢၼ်ႉ (ป๎าน, ถาด), และอาจรวมไปถึงภาษาเขมร ពាន (พาน) (Pou and Jenner, 1980-1981)

รูปแบบอื่น

แก้ไข

คำนาม

แก้ไข

พาน

  1. ภาชนะมีเชิงประเภทหนึ่ง มีหลายชนิด บางชนิดมีรูปทรงคล้ายจาน บางชนิดมีรูปทรงคล้ายขัน เชิงมีรูปร่างต่าง ๆ กัน ใช้สำหรับใส่สิ่งของมีดอกไม้ธูปเทียน เป็นต้น

รากศัพท์ 2

แก้ไข

คำนาม

แก้ไข

พาน

  1. ตอน, บั้น (ใช้แก่สิ่งของบางชนิด)
    พานท้ายปืน
    พานท้ายเรือ

รากศัพท์ 3

แก้ไข

คำนาม

แก้ไข

พาน

  1. ฐานของนมหรือเต้านมเกิดเป็นไตแข็งขึ้นเริ่มอาการแห่งความเป็นหนุ่มสาว
    นมขึ้นพาน
    นมแตกพาน

รากศัพท์ 4

แก้ไข

คำกริยาวิเศษณ์

แก้ไข

พาน

  1. ทำท่าว่า
    พานจะเป็นลม
    พานจะตาย
    พานจะโกรธ
    พี่ก็พานแก่ชราหูตามัว
    (สังข์ทอง)

รากศัพท์ 5

แก้ไข

คำกริยา

แก้ไข

พาน (คำอาการนาม การพาน)

  1. พบปะ
    ไม่ได้พบพานเสียนาน
  2. ขวาง, กีดขวาง, ขึงขวาง
    เอาเชือกมาพานไว้ เมื่อคนมาปะทะก็จะล้มลง
  3. กั้นไว้
    พานคนข้างหลังไว้
  4. ระให้หมดไป
    เอาไม้กวาดพานหยากไย่
การใช้
แก้ไข

ในความหมายว่า พบปะ มักใช้เข้าคู่กับคำ พบ เป็น พบพาน หรือ พานพบ

รากศัพท์ 6

แก้ไข
 
วิกิพีเดียภาษาไทยมีบทความเกี่ยวกับ:
Wikipedia

คำวิสามานยนาม

แก้ไข

พาน

  1. ชื่ออำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงราย