สุข
ภาษาไทย
แก้ไขรูปแบบอื่น
แก้ไข- (เลิกใช้) ศุข
รากศัพท์
แก้ไขยืมมาจากภาษาสันสกฤต सुख (สุข) หรือภาษาบาลี สุข
การออกเสียง
แก้ไขการแบ่งพยางค์ {เสียงพยัญชนะซ้ำ} | สุก | [เสียงสมาส] สุก-ขะ- | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | sùk | sùk-kà- |
ราชบัณฑิตยสภา | suk | suk-kha- | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /suk̚˨˩/(สัมผัส) | /suk̚˨˩.kʰa˨˩./ | |
คำพ้องเสียง |
คำนาม
แก้ไขสุข
- ความสบายกายสบายใจ, มักใช้เข้าคู่กับคำ เป็น เป็น เป็นสุข, ความสุข ก็ว่า
- ขอให้อยู่ดีมีสุข
- เกิดมาก็มีสุขบ้างทุกข์บ้าง
- ขอให้อยู่เย็นเป็นสุข
- ขอให้เป็นสุข ๆ นะ
คำคุณศัพท์
แก้ไขสุข (คำอาการนาม ความสุข)
- สบายกายสบายใจ
- เดี๋ยวนี้เขาอยู่สุขสบายดี
ภาษาบาลี
แก้ไขรากศัพท์
แก้ไขสุ + ขมฺ + กฺวิ หรือ สุ + ขนฺ + กฺวิ หรือ สุ + ขาทฺ + กฺวิ, รัสสะ อา เป็น อะ หรือ สุขฺ + อ หรือ สุ + ข หรือ สุฏฺฐุ + ข
รูปแบบอื่น
แก้ไขเขียนด้วยอักษรอื่น
คำนาม
แก้ไขสุข ก.
การผันรูป
แก้ไขตารางการผันรูปของ "สุข" (เพศกลาง)
การก \ พจน์ | เอกพจน์ | พหูพจน์ |
---|---|---|
กรรตุการก (ปฐมา) | สุขํ | สุขานิ |
กรรมการก (ทุติยา) | สุขํ | สุขานิ |
กรณการก (ตติยา) | สุเขน | สุเขหิ หรือ สุเขภิ |
สัมปทานการก (จตุตถี) | สุขสฺส หรือ สุขาย หรือ สุขตฺถํ | สุขานํ |
อปาทานการก (ปัญจมี) | สุขสฺมา หรือ สุขมฺหา หรือ สุขา | สุเขหิ หรือ สุเขภิ |
สัมพันธการก (ฉัฏฐี) | สุขสฺส | สุขานํ |
อธิกรณการก (สัตตมี) | สุขสฺมิํ หรือ สุขมฺหิ หรือ สุเข | สุเขสุ |
สัมโพธนการก (อาลปนะ) | สุข | สุขานิ |