ตรึก
ดูเพิ่ม: ตุรกี
ภาษาไทย
แก้ไขการออกเสียง
แก้ไขการแบ่งพยางค์ | ตฺรึก | |
การแผลงเป็น อักษรโรมัน | ไพบูลย์พับบลิชชิง | dtrʉ̀k |
ราชบัณฑิตยสภา | truek | |
(มาตรฐาน) สัทอักษรสากล(คำอธิบาย) | /trɯk̚˨˩/(สัมผัส) |
รากศัพท์ 1
แก้ไขยืมมาจากสันสกฤต तर्क (ตรฺก, “คิด”); ร่วมรากกับ ตรรก and ตรรกะ
คำกริยา
แก้ไขตรึก (คำอาการนาม การตรึก หรือ ความตรึก)
- (ภาษาหนังสือ) นึก, คิด
รากศัพท์ 2
แก้ไขคำกริยา
แก้ไขตรึก
- (ร้อยกรอง, chiefly in the negative) หมด, สิ้น, เปลือง, น้อย, มักใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่ตรึก, มิตรึก
- จึงองค์มิสาระปันหยี จึงตอบว่าข้าจะให้ไก่ดีดี ของเรามีไม่ตรึกอย่าร้อนใจ(อิเหนา)
- ท่านก็ไม่ขัดสนจนพราย มากมายตามพรูอยู่มิตรึก แรกรักจะรำพันให้ครั่นครึก(ขุนช้างขุนแผน)
- ฤๅจะใคร่ได้เมียสาว ๆ ขาว ๆ ดี ๆ มีไม่ตรึก(มณีพิชัย)